ZTE Corporation (0763.HK / 000063.SZ) ผู้ให้บริการโซลูชั่นโทรคมนาคม เทคโนโลยีระดับองค์กร และเทคโนโลยีผู้บริโภคสำหรับแวดวงอินเทอร์เน็ตมือถือรายใหญ่ของโลก คือผู้บุกเบิกในการเสาะแสวงหาโอกาสจากเทคโนโลยี 5G และการพัฒนากลยุทธ์ 5G ในขณะที่การใช้งานเชิงพาณิชย์ของเครือข่ายมือถือยุคที่ 5 หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า 5G นั้น กำลังใกล้เข้ามาทุกขณะ
ด้วยมุ่งเน้นไปที่โซลูชั่น 5G ครบวงจร บริษัทจึงได้ให้ความสนใจในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐาน การวิจัย การพัฒนา และการรับรองเทคโนโลยี 5G เพื่อสร้างความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีแกนหลัก การใช้งานเชิงพาณิชย์ และการประหยัดโดยเพิ่มขนาด (Economies of Scale) สำหรับเครือข่ายมือถือยุคถัดไป
สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยเทคโนโลยี 5G ชั้นแนวหน้า
ZTE มีความมั่นใจอย่างมากเกี่ยวกับ 5G และสนับสนุนความเชื่อมั่นดังกล่าวด้วยทีมงานผู้มีทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า 4,500 ชีวิต ซึ่งอุทิศตนให้กับการวิจัย 5G ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนปีละ 3 พันล้านหยวน
นอกจากเป็นผู้นำในการส่งเสริมเทคโนโลยี MIMO (multiple-input multiple-output) ขนาดใหญ่ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของคลื่นความถี่
รวมถึงการขยายความสามารถในการรองรับการใช้งานและความครอบคลุมของเครือข่ายในยุค 5G แล้ว ZTE ยังเป็นเจ้าแรกที่นำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้กับเครือข่าย 4G จนนำไปสู่การใช้งาน 5G ก่อนกำหนดการที่วางไว้ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของคลื่นความถี่ของเครือข่าย 4G ให้ดีขึ้นเทียบเป็นสัดส่วน 1 ใน 8
การดำเนินการในระยะแรกช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายและผู้ใช้งานได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ในขณะเดียวกันก็เป็นการผลักดันความคืบหน้าในการใช้งาน MIMO ขนาดใหญ่ท่ามกลางนวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง นอกจากนี้บริษัทยังเสนอโซลูชั่นต่าง ๆ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี อาทิ ผลลัพธ์ Test Data ต่อมาตรฐาน 5G
เพื่อทำตามโจทย์ที่วางไว้คือเครือข่าย 5G ที่รองรับการใช้งานสูง จึงมีการเสนอแนวคิด non-orthogonal multiple access (NOMA) ในรูปแบบครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมขึ้นมา
โดยโซลูชั่น Multi User Shared Access (MUSA) ซึ่งเสนอขึ้นโดย ZTE ก็ได้รับเลือกในการนี้ด้วย ทั้งนี้ MUSA คือโซลูชั่นที่รองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากที่ใช้ทรัพยากรความถี่เวลาเดียวกันได้เป็นจำนวน 3-6 เท่า ทำให้สามารถวางตารางเวลาที่ไม่ทับซ้อนกันเลย และช่วยลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายลงอย่างมาก
ทั้งนี้ ในการทดสอบ 5G ระยะที่ 2 ของจีน เทคโนโลยี MUSA ทำผลงานด้านการเชื่อมต่อได้ 90 ล้านครั้ง/เมกะเฮิรตซ์/ชั่วโมง ซึ่งทิ้งห่างมาตรฐานที่กำหนดโดย International Telecommunication Union (ITU)
ในฐานะต้นตำรับเทคโนโลยี MUSA เป็นเจ้าแรก ZTE ได้ผลักดันให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยี NOMA โดยกลุ่ม GPP RAN Working Group 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ดูแลข้อมูลจำเพาะของเลเยอร์กายภาพของระบบวิทยุ (เลเยอร์วิทยุ 1) สำหรับระบบ 5G New Radio (NR) ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งนี้นับว่ามีส่วนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรม
ในขณะเดียวกัน ด้วยความสามารถในการออกแบบและพัฒนาชิปที่แข็งแกร่ง ZTE ได้เปิดตัวหน่วยเบสแบนด์รุ่นใหม่ (NG BBU) ที่มีการบูรณาการสูงสุดในอุตสาหกรรม โดยยึดชิปเบสแบนด์ประมวลผลเวกเตอร์ประสิทธิภาพสูงอันเป็นกรรมสิทธิ์ที่ ZTE พัฒนาขึ้นเองเป็นหลัก อีกทั้งยังพัฒนาหน่วยเสาอากาศที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาที่สุดในอุตสาหกรรม 5G (AAU) บนพื้นฐานของชิป IF ดิจิทัลแบบบูรณาการขั้นสูงด้วย
สำหรับการทดสอบเครือข่าย 5G ระยะที่ 1 และ 2 ในประเทศจีนนั้น สถานีฐาน 5G ของ ZTE ไม่เพียงปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐานต่าง ๆ ได้เท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์การทดสอบสนามความถี่สูงขนาด 26 กิกะเฮิรตซ์ด้วยผลการปฏิบัติการอันยอดเยี่ยมด้วย
ปัจจุบัน ZTE เปิดตัวการทดสอบเครือข่าย 5G ระยะที่ 3 ในประเทศจีนด้วยผลิตภัณฑ์ 5G อย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด รวมถึงการแก้ไขจุดบกพร่องของช่องทางเชิงพาณิชย์แบบครบวงจร
ขึ้นแท่นผู้นำระบบ 5G เชิงพาณิชย์ พร้อมสั่งสมชื่อเสียงระดับโลกด้วยการเข้าสู่ตลาดไฮเอนด์
ด้วยนวัตกรรม 5G อันหลากหลายของบริษัท ส่งผลให้ผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของโลกหลายรายเลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับ ZTE
ในปีที่แล้ว ZTE ร่วมมือด้าน 5G กับผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของโลกกว่า 20 ราย ซึ่งรวมถึงการเปิดสถานีฐาน 5G ก่อนเป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบร่วมกับ China Mobile, ริเริ่มการทดสอบแถบโครงข่าย 5G ภาคสนามครั้งแรกร่วมกับ SoftBank ของญี่ปุ่น และสร้างเครือข่าย 5G ก่อนเป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในยุโรป เป็นต้น
บรรดาผู้ประกอบการเครือข่ายต่างเรียงแถวร่วมงานกับ ZTE ในการขับเคลื่อนโครงข่าย 5G สู่การให้บริการเชิงพาณิชย์ รวมถึงการออกแบบกลยุทธ์และการทดสอบภาคสนาม ยกตัวอย่างเช่น Telefonica และ ZTE สามารถออกแบบสถาปัตยกรรมเครือข่าย 5G และการทดสอบแรงแบกทาน
รวมถึงจะตรวจพิสูจน์โซลูชัน 5G แบบครบวงจรต่อไป ด้าน Orange วางแผนที่จะดำเนินการทดสอบสถาปัตยกรรมเครือข่าย 5G อิสระแบบมัลติไซต์ร่วมกับ ZTE ในยุโรปช่วงปี 2561 นี้ สำหรับ China Mobile นั้นได้ร่วมมือกับ ZTE ในการสร้างเครือข่ายทดลองไว้คอยติดตามสภาพแวดล้อมจริงของ 5G ในนครกว่างโจว เพื่อตรวจสอบความสามารถอันต่อเนื่องของเครือข่าย 5G
รวมถึงวางแผนที่จะขยายขอบเขตของเครือข่ายการทดลองเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของนครกว่างโจวในปี 2561 ขณะที่ China Telecom วางใจให้ ZTE สำรวจการใช้งานเชิงนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมแนวดิ่ง เมื่อทางบริษัทดำเนินการทดสอบระบบ 5Gก่อนเป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปในสงอานและซูโจวเป็นครั้งแรก ส่วน China Unicom ได้สร้างสนามทดสอบแถบระดับสัญญาณใหม่ขึ้น นอกจากนี้ ZTE ยังประสบความสำเร็จในการตรวจสอบบริการ และบรรลุอัตราสูงสุดที่ 2 กิกะบิต ต่อ 1 UE
ทั้งนี้ เมื่อเดือนพ.ย. ปีที่แล้ว ZTE จับมือกับ Qualcomm และ China Mobile เพื่อร่วมกันทดสอบระบบแบบครบวงจรเป็นครั้งแรกของโลกโดยอิงตามมาตรฐาน 3GPP R15 ทำให้สามารถใช้งานแบนด์วิธที่มีความเร็วสูง และมีอัตราการรอเครือข่าย 5G ที่ระดับศูนย์
ZTE ได้เปิดตัวชุดผลิตภัณฑ์ 5G สำหรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์ รวมถึงชุดอุปกรณ์เข้าถึงการเชื่อมต่อ 5G, โซลูชั่นแบริ่ง 5G แบบต่างๆ, เครือข่ายหลัก 5G ที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น ตลอดจนผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งครอบคลุมทั้งคลื่นความถี่สูงและต่ำ อีกทั้งยังช่วยเตรียมความพร้อมให้กับผู้ให้บริการที่มีเป้าหมายในการนำ 5G มาใช้ในเชิงพาณิชย์ให้สำเร็จได้ในปี2562
สร้างเครือข่ายเชิงพาณิชย์ที่มีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุดด้วยเครือข่าย 5G ชั้นนำต้นทุนต่ำ
สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้รัฐบาลและผู้ให้บริการเครือข่ายทุกรายตั้งเป้าผลักดันให้มีการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์โดยทั่วกันภายในปี 2563 ขณะที่รัฐบาลจีนก็มีแผนในการสร้างเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดให้ได้ในเวลาดังกล่าว ด้วยความคาดหวังถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานระบบ 5G ในวงกว้างทั่วประเทศจีน
ZTE วางแผนที่จะเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์โครงสร้าง 5G ของบริษัทให้มีความสมบูรณ์และมีความสามารถในการขยายระบบเพื่อรองรับการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่มีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุดให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็ก้าวขึ้นผู้นำในแง่ของความคุ้มค่าทางต้นทุน
การส่งข้อมูลระหว่างสถานีฐานกับสถานีลูกข่ายหรือ TDD จะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อสเปกตรัม 5G ใหม่ในยุค 5G การนำเทคโนโลยี TDD ขั้นสูงมาใช้ประโยชน์นี้ ทำให้ ZTE นำเสนอโซลูชั่น 5G ที่มีความยืดหยุ่น ใช้งานได้ในหลากหลายสถานการณ์และทุกแนวทาง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ที่ครอบคลุมของบริษัทในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการเครือข่ายของบริษัท
โดยการส่งข้อมูลด้วยเทคโนโลยี TDD ของบริษัทถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลคิดเป็น 1 ใน 3 ของการรับส่งข้อมูลทั้งหมดทั่วโลกมาเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันZTE มีแผนจะนำสิ่งที่บริษัทได้พัฒนาขึ้นมาในยุคของ 4G มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อวางรากฐานอันแข็งแกร่ง และก้าวขึ้นเป็นผู้บุกเบิกชั้นนำของอุตสาหกรรมสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ที่มีความก้าวหน้าและประหยัดต้นทุน
เครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในจีนคาดว่าจะช่วยในเรื่องการประหยัดต่อขนาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในแง่ของประสบการณ์และต้นทุน
ปัจจุบัน สายผลิตภัณฑ์โซลูชั่น 5G ของ ZTE ช่วยสนับสนุนสถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันด้วยความยืดหยุ่น และมอบการใช้งานเครือข่ายที่มีความคุ้มค่าสูงสุด โดยบทบาทความเป็นผู้นำของ ZTE นั้นได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากจากบริษัทให้คำปรึกษาอย่าง Ovum
ซึ่งได้ระบุไว้ในรายงานล่าสุดของทางบริษัท ว่า ในสายผลิตภัณฑ์ 5G ทั้ง 6 สาย ได้แก่ เทคโนโลยีMassive MIMO, สถานีฐาน 5G, ผู้ให้บริการเครือข่าย 5G, เครือข่ายส่งข้อมูลแบบ backhaul/fronthaul, เทอร์มินัลและเครือข่ายหลัก 5G นั้น ZTE ถือเป็นหนึ่งในผู้จำหน่ายเพียง 2 รายทั่วโลกที่สามารถนำเสนอโซลูชั่น 5G ที่ครบวงจรได้อย่างครอบคลุม อันเป็นผลมาจากความเข้าใจเชิงลึกและครอบคลุมมากขึ้นเกี่ยวกับความต้องการในทุก ๆ ด้านของเครือข่าย 5G
ความเป็นผู้นำของ ZTE ทำให้บริษัทมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ใน 3 ภาคส่วนสำคัญ ได้แก่ การใช้งานในเชิงพาณิชย์, การประหยัดต่อขนาด และการสร้างสรรค์นวัตกรรมในเทคโนโลยีหลัก และบริษัทคาดหวังว่าจะยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำในยุค 5G ด้วยการส่งเสริมการใช้งานเชิงพาณิชย์ทั่วโลกได้เป็นผลสำเร็จ