คลังเก็บ

เสียวหมี่สานต่อวิสัยทัศน์องค์กรด้านความเท่าเทียมกันทางเทคโนโลยี ยกระดับการช่วยเหลือผู้พิการผ่านนวัตกรรม

เสียวหมี่เปิดบ้านต้อนรับ Mi Fan ผู้พิการ เยือนสำนักงานใหญ่ของเสียวหมี่หรือ Xiaomi Science and Technology Park ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อเยี่ยมชม Mi Home ห้องปฏิบัติการ R&D ชมกิจกรรม Co-creation Session และแบ่งปันประสบการณ์การใช้ชีวิตภายใต้หัวข้อ “Touch the Beauty” เนื่องในวัน Global Accessibility Awareness เมื่อ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา สานต่อวิสัยทัศน์องค์กรด้านความเท่าเทียมกันทางเทคโนโลยี ด้วยนโยบายการยกระดับการช่วยเหลือผู้พิการผ่านนวัตกรรม

ความเท่าเทียมกันทางเทคโนโลยีคือหนึ่งในวิสัยทัศน์ที่เสียวหมี่ให้ความสำคัญนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา 11 ปี เสียวหมี่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาฟังก์ชั่นช่วยเหลือผู้พิการตั้งแต่ช่วงแรกของการก่อตั้ง ในฐานะที่เป็นผู้นำการช่วยเหลือผู้พิการในประเทศจีน เสียวหมี่ได้พัฒนาฟีเจอร์ช่วยเหลือผู้พิการต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งเกิดจากกลยุทธที่มาจากกลุ่มผู้พิการ และการแสดงความเห็นจากเหล่า Mi Fan รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟีเจอร์ “Xiaomi Wensheng” (ซึ่งแปลว่าเสียวหมี่ได้ยินเสียง) ให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนจากเสียงเป็นตัวอักษรแบบเรียลไทม์ 

นอกจากนี้เสียวหมี่ยังได้พัฒนาคำสั่งเสียงและฟีเจอร์สัญลักษณ์มือสำหรับผู้ที่มีความพิการทางร่างกาย ที่จะทำให้พวกเขาสามารถควบคุมสมาร์ทดีไวซ์ในระยะไกลเมื่อใช้ร่วมกับ Mi AI Speakers หรือแอปพลิเคชั่น Mi Home ยิ่งไปกว่านั้น ฟีเจอร์ Haptic จะทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถแยกแยะข้อมูลต่างๆ ได้จากการสั่นของสมาร์ทโฟน ซึ่งฟีเจอร์นี้ได้รับรางวัล iF Design Award ในปีนี้และยังทำให้นวัตกรรมนี้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

Mi Fan กลุ่มที่เสียวหมี่เชิญมาเยี่ยมชม Xiaomi Science and Technology Park ครั้งนี้ คือผู้ใช้ Speech Recognition Assistants สำหรับ Mi AI Speakers เทคโนโลยีจากเสียวหมี่ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ โดยทีม MIUI AI Services IoT และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ ของเสียวหมี่ได้เข้ามาพูดคุย เพื่อเข้าถึงความต้องการและรับฟังคำแนะนำต่างๆ จาก Mi Fan กลุ่มนี้ เพื่อที่จะยกระดับฟังก์ชั่นการใช้งานของผู้พิการได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 

Liu Qing หนึ่งทีมพัฒนาฟีเจอร์สำหรับผู้พิการของเสียวหมี่กล่าวว่า “เราได้เป็นเพื่อนกับผู้ใช้งานและยังได้สร้างกลุ่มสำหรับการให้ข้อมูลจากผู้พิการ ซึ่งจะทำให้เราเก็บข้อมูลต่างๆ ได้ทันท่วงที และเสียวหมี่ยังได้อัปเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้กับพวกเขาผ่านกลุ่มนี้เช่นกัน เสียวหมี่จะไม่เว้นการทำงานร่วมกับผู้พิการเพราะจะได้สร้างความมั่นใจให้แก่พวกเขาว่าพวกเขาจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการ ฟีเจอร์สำหรับผู้พิการนั้นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากการสื่อสารกับผู้ใช้งาน อาทิ Xiaomi Wensheng และ Haptic 

และเสียวหมี่ยังมีแผนในการพัฒนาฟีเจอร์สำหรับผู้พิการให้เป็นระบบมากขึ้นในอนาคต สำหรับตลาดต่างประเทศ เสียวหมี่ได้ร่วมมือกับ Google ในการสนับสนุนฟังก์ชั่นสำหรับผู้พิการของ Google บนสมาร์ทโฟน  อย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าฟีเจอร์สำหรับผู้พิการจะยังไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมดสำหรับตลาดต่างประเทศในขณะนี้ แต่เสียวหมี่มีความตั้งมั่นว่าในอนาคตจะพัฒนาให้สามารถใช้งานกับผู้ใช้งานทั่วโลก  

Cao Yu หนึ่งใน Mi Fan ผู้พิการทางสายตา กล่าวว่า “ฟังก์ชั่น TalkBack บนสมาร์ทโฟนเสียวหมี่ทำให้ชีวิตผมดีขึ้นมาก ผมสามารถใช้แอปพลิเคชั่นอย่าง WeChat แอปส่งอาหารและแผนที่ได้โดยที่ไม่มีปัญหาอีกต่อไป” นอกจากนี้เขายังแสดงความเห็นว่า อยากให้ฟีเจอร์ช่วยเหลือผู้พิการของสมาร์ทโฟนเสียวหมี่มีความเป็นระบบและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับระบบปฏิบัติการมากขึ้นในอนาคต

ในช่วงการแชร์ประสบการณ์ของผู้พิการภายใต้หัวข้อ “Touch the Beauty” Cai Cong และ Fu Gaoshan ตัวแทนจากผู้พิการทางสายตาได้สาธิตการใช้งานฟีเจอร์ VoiceOver และสถานะการทำงานให้กับท่านอื่นฟัง โดยทั้งคู่ได้เน้นย้ำถึง AI Speaker Voice Labeler Project ซึ่งเสียวหมี่ได้สร้างโอกาสการทำงานของผู้พิการร่วมกับ Qualcomm นอกจากนี้ ยังมีซอฟท์แวร์ที่ทำขึ้นเฉพาะให้ผู้พิการใช้ในการทำงาน จนถึงวันนี้ มีผู้พิการกว่า 42 คนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา Ai Speaker Voice Labeler Project มากว่า 3 ปี

Chen Xiaowen หนึ่งในผู้พิการทางสายตาซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงาน ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจ้างงานผู้พิการว่า“ผมเคยถูกปฏิเสธงานเพราะความพิการทางสายตา ทั้งที่จริงแล้ว ผมว่าเราสามารถทำงานได้ดีหากได้รับโอกาสในตำแหน่งปัจจุบันของผม ผมมีหน้าที่แยกแยะคำสั่งเสียงของผู้ใช้งานเพื่อที่จะสอนให้ AI เข้าใจคำสั่ง หน้าที่นี้ทำให้ผมรู้สึกภูมิใจมาก และรู้สึกว่าอยากทำให้ชีวิตดีขึ้นยิ่งไปกว่าเดิม”

ขณะที่เสียวหมี่ได้รับความสนใจมากขึ้นในตลาดต่างประเทศในช่วงหลัง เสียวหมี่เองก็พยายามที่จะพัฒนาฟีเจอร์สำหรับผู้พิการสำหรับคนทั่วโลก โดยเฉพาะ MIUI ซึ่งที่ผ่านมาสามารถใช้งานได้กับฟังก์ชั่นสำหรับผู้พิการของ Google อย่างเป็นระบบ เช่น ทุกแอปพลิเคชั่นพื้นฐานของเสียวหมี่สามารถใช้ได้กับ Google TalkBack โดยในระหว่างการพัฒนา MIUI เสียวหมี่ได้เพิ่มคำอธิบายในแอปพลิเคชั่นต่างๆ เข้าไปเพื่อที่ TalkBack จะได้อ่านได้อย่างถูกต้อง

และมีการพัฒนาให้เข้ากับภาษาในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย เสียวหมี่จะมุ่งมั่นในการยกระดับฟังก์ชั่นการช่วยเหลือผู้พิการโดยการร่วมมือกับ Google อย่างต่อเนื่องในอนาคตเพื่อสร้างประสบการณ์ในการใช้งานแบบไร้รอยต่อและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้ดียิ่งขึ้น

Mi Fan ผู้พิการ กำลังใช้ Speech Recognition Assistants สำหรับ Mi AI Speakers ในระหว่างเยี่ยมชม Mi Home

Co-creation Session ช่วงเวลาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่าง Mi Fan ผู้พิการ และทีมงานเสียวหมี่

Cao Yu แสดงความห็นเกี่ยวกับฟีเจอร์สำหรับผู้พิการบนสมาร์ทโฟนเสียวหมี่

ฟีเจอร์ Haptic จะทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถแยกแยะข้อมูลต่างๆ ได้จากการสั่นของสมาร์ทโฟน

ซึ่งฟีเจอร์นี้ได้รับรางวัล iF Design Award

Xiaomi

Chen Xiaowen หนึ่งในผู้พิการทางสายตาซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงาน