บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยี เพื่อความเชื่อมั่นชั้นนำ (TrustTech) และผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Whoscall เปิดรายงานประจำปี 2567 วิเคราะห์สถานการณ์กลโกงของมิจฉาชีพในประเทศไทยตลอดปีที่ผ่านมา ผ่านการรายงาน มิจฉาชีพจากสายโทรศัพท์ ข้อความ SMS ลิงก์ต่าง ๆ และฟีเจอร์ตรวจสอบข้อมูลรั่วไหล พร้อมสำรวจ กลลวงมิจฉาชีพที่ใช้หลอกลวงประชาชน เพื่อกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงภัยกลโกงและลดความเสี่ยง จากการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ

นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย กล่าวว่า “นับตั้งแต่ที่บริษัท เริ่มเผยแพร่รายงานประจำปีตั้งแต่ปี 2563 เราได้ติดตามสถานการณ์การหลอกลวงของมิจฉาชีพ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุก ๆ ตลาดหลักที่ Whoscall ให้บริการอย่างใกล้ชิด
สำหรับประเทศไทย ในปี 2567 เราสามารถระบุสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงได้สูงสุดในรอบ 5 ปี ถึง 168 ล้านครั้ง เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการหลอกลวงอย่างแพร่หลาย ทำให้กลโกงมีความ ซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยแนวโน้มการหลอกลวงที่ต้องจับตามอง ได้แก่ การแอบอ้างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การฉ้อโกงทางการเงินในหลากหลายรูปแบบ ทั้งผ่านการโทรศัพท์ ข้อความ SMS ลิงก์อันตราย รวมถึง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น อย่างน่ากังวล”

สรุปข้อมูลสำคัญจากรายงาน
- ในปี 2567 ประเทศไทยมีจำนวนการตรวจพบสายโทรศัพท์และข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้น ประมาณ 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี
- Whoscall สามารถปกป้องผู้ใช้จากการถูกหลอกลวงผ่านการโทรและข้อความ SMS ได้ถึง 460,000 ครั้งใน 1 วัน
- กลวิธีหลอกลวงใน SMS ที่พบอย่างแพร่หลาย ได้แก่ การชักชวนเล่นพนัน การปลอมเป็นบริษัท ขนส่งพัสดุ การแอบอ้างเป็นธนาคาร สถาบันการเงิน องค์กร และหน่วยงานรัฐ
- ระวัง! ลิงก์อันตรายอาจนำไปสู่ เว็บไซต์ปลอม, เว็บพนันผิดกฎหมาย, และเว็บที่แอบติดตั้งมัลแวร์ เพื่อดักจับข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น
- ฟีเจอร์ ID security ของ Whoscall เตือนภัยข้อมูลส่วนตัวคนไทย 41% รั่วไหลไปบนดาร์กเว็บ
ตรวจพบสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้นในประเทศไทย

ในปี 2567 Whoscall ตรวจพบ สายโทรศัพท์และข้อความ SMS หลอกลวงสูงถึง 168 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 112% จาก 79.2 ล้านครั้งในปี 2566 และถือเป็นยอดที่สูงสุดในรอบ 5 ปีของประเทศไทย ในส่วนของจำนวนการโทรหลอกลวงเพิ่มขึ้นเป็น 38 ล้านครั้ง จาก 20.8 ล้านครั้งในปี 2566 ขณะที่จำนวนข้อความ SMS หลอกลวงพุ่งสูงถึงเกือบ 130 ล้านครั้ง จาก 58.3 ล้านครั้งในปี 2566 กลโกงที่พบมากที่สุด ได้แก่ การหลอกขายบริการและสินค้าปลอม การแอบอ้างตัวเป็นหน่วยงาน และหลอกว่ามีเงินกู้อนุมัติง่าย การหลอกทวงเงิน การหลอกว่าเป็นหนี้
มิจฉาชีพใช้กลลวงเกี่ยวกับการเงิน และแอบอ้างองค์กรเพิ่มสูงขึ้น

ในปีที่ผ่านมา บริการ Smart SMS Assistant หรือ ผู้ช่วย SMS อัจฉริยะที่ช่วยตรวจสอบข้อความ จากหมายเลขที่ไม่รู้จัก พบว่ามีข้อความ SMS ที่เข้าข่ายการ หลอกลวง มากถึง 130 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่ากลุ่มมิจฉาชีพยังคงใช้การส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการหลอกลวง

ข้อความ SMS หลอกลวงที่แนบลิงก์ฟิชชิง เช่น ข้อความ SMS ที่หลอกให้กู้เงิน และโฆษณาการพนัน ยังคงพบมากที่สุด นอกจากนี้กลุ่มมิจฉาชีพยังเปลี่ยนกลยุทธ์มาแอบอ้างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มากขึ้น เช่น แอบอ้างเป็นบริการจัดส่งสินค้า รวมไปถึงการปลอมเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภค เพื่อส่งข้อความชวนเชื่อที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า คืนค่าประกัน มิเตอร์ไฟฟ้า มาตรการคนละครึ่ง และดิจิทัล วอลเล็ต
การแพร่กระจายของลิงก์อันตรายแปลกปลอม

Whoscall พัฒนาฟีเจอร์อย่างเช่น Web Checker[1] ที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบลิงก์ที่น่าสงสัยและ อันตราย บนเว็บบราวเซอร์ในระหว่างการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ในปีที่ผ่านมาฟีเจอร์นี้ช่วยปกป้อง ผู้ใช้งานจากการคลิกลิงก์อันตราย แปลกปลอมหลากหลายประเภท[2] โดยประเภทลิงก์อันตรายที่พบมาก ที่สุดเป็นลิงก์ฟิชชิงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูดเงิน หรือล้วงข้อมูลส่วนบุคคล 40% ส่วนลิงก์ อันตราย ที่เหลือเป็นลิงก์ ที่เชื่อมโยงกับการพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย 30% และลิงก์อันตรายที่หลอกให้เหยื่อ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่มีมัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญจากอุปกรณ์อีก 30%
ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

ในรายงานประจำปีครั้งนี้ยังได้เปิดเผยถึงปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรวจสอบผ่านฟีเจอร์ “ID Security“ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนบุคคลของตนเองได้ ในปีที่ผ่านมา ฟีเจอร์ ID Security กลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ความระมัดระวังความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยผลการวิเคราะห์พบว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ 41% รั่วไหลไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ดาร์กเว็บ และดีพเว็บ ในบรรดาข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลพบว่า 97% เป็น อีเมล และ 88% เป็นเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งอาจมีข้อมูลเช่น วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุล พาสเวิร์ด รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ หลุดร่วมไปด้วย
Whoscall มุ่งพัฒนาแอปพลิเคชัน ร่วมปกป้องผู้ใช้งานและธุรกิจอย่างครอบคลุม

รายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นว่าใน 1 วัน Whoscall ช่วยปกป้องคนไทยจากมิจฉาชีพได้มากกว่า 460,000 ครั้ง เรามุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ทุกความ ต้องการของผู้ใช้งานในการป้องกันภัยมิจฉาชีพ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของกลโกงออนไลน์ ที่เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบ นอกจากนี้ประชาชนควรตื่นตัวและใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปกป้องตนเอง เช่น :

- ดาวน์โหลดแอป Whoscall : ฟีเจอร์ Caller ID จะยังเป็นแนวป้องกันแรกที่สามารถระบุตัวตนของหมายเลขที่ไม่รู้จักแบบเรียลไทม์ ช่วยเตือนภัย สายเรียกเข้าหลอกลวง และสายสแปมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล: ประชาชนควรใช้ความระมัดระวังเมื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวทางออนไลน์ และระวังลิงก์ หรือคำขอที่น่าสงสัย โดยสามารถทดลองใช้ฟีเจอร์ ID Security เพื่อตรวจสอบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลไปที่ไหนแล้วหรือไม่ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการติดต่อผ่านช่องทาง ต่าง ๆ เช่น อีเมล เบอร์โทรศัพท์ และข้อความ SMS
- ตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งทางการ
- สำหรับผู้บริโภค: บริการ Auto Web Checker บนแอปพลิเคชัน Whoscall จะช่วยแจ้งเตือน เมื่อผู้ใช้งานคลิกลิงก์จากข้อความ SMS หรือเว็บบราวเซอร์ เข้าไปยัง เว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย
- สำหรับธุรกิจ: Whoscall Verified Business Number หรือ VBN จะช่วยยืนยัน เบอร์โทรศัพท์ของธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความถูกต้องของสายโทรเข้า ธุรกิจ สามารถใช้โซลูชันนี้เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารกับลูกค้า ปกป้องภาพลักษณ์ของแบรนด์ และป้องกันความเสียหายต่อชื่อเสียงจากการถูกแอบอ้าง

“ด้วยสถานการณ์กลโกงที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Whoscall ยืนหยัดที่จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ที่มี่ประสิทธิภาพมายกระดับการป้องกันภัยจากการหลอกลวง เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันภัยจากอาชญกรรมทางไซเบอร์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคมไทย เราพร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนอย่างใกล้ชิดในการลดอัตราการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ สร้างความตระหนัก รู้เกี่ยวกับการหลอกลวงดิจิทัล รวมถึงออกบริการใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อปกป้องทั้งผู้ใช้ และองค์กรในทุกช่องทาง” นายแมนวู จู กล่าวสรุป
หลังจากเผยแพร่รายงาน บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย จะส่งรายงานฉบับนี้ไปยังหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนมาตรการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ และสร้างสรรค์แคมเปญการสื่อสาร ให้แก่ประชาชนต่อไป
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Whoscall ได้ฟรีจาก App Store และ Google Play Store ที่ลิงก์ https://app.adjust.com/1fh6zchh
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Whoscall และฟีเจอร์ที่มีให้บริการ ได้ที่ https://whoscall.com/th หรือ https://www.facebook.com/whoscall.thailand