คลังเก็บ

VC ชี้สตาร์ตอัพไทย 99% ยังไม่พร้อมโต ต้องปรับแนวคิดในการขยายธุรกิจในระดับโลก ตั้งแต่วันแรก

 

ดีแทค แอคเซอเลอเรท ติวเข้มสตาร์ตอัพสู่ระดับ Series A ขนทัพนักลงทุนตัวแม่ ชี้เป้าเดินหน้าให้เป็นยูนิคอร์น กับหลักสูตร A-Academy

VC ระดับโลกระบุสตาร์ตอัพไทยมีจุดอ่อน 3 อันดับ ที่เป็นอุปสรรคในการขยายธุรกิจให้เติบโตได้

อันดับ 1 คือ แนวคิดในการทำธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาตลาดที่ใหญ่กว่าในประเทศ

อันดับ 2 คือ ผู้ใช้บริการไม่ถึงเป้าหมาย ขั้นต่ำต้องมี 10,000 รายต่อวัน

และอันดับ 3 คือ การขาดแคลนโปรแกรมเมอร์ และการรับมือบริหารองค์กรที่โต แบบก้าวกระโดดไม่ทัน

dtac

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ดีแทค แอคเซอเลอเรท จึงได้จัดโปรแกรม “A Academy” ผลักดันบริษัทสตาร์ตอัพศิษย์เก่าของ ดีแทค แอคเซอเลอเรท ให้สามารถระดมทุน ขึ้นไปสู่ระดับ Series A และไปให้ถึงเป้าหมายสูงสุดในการเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศไทย

โดยจัด intensive คอร์สแรกผ่านไปแล้ว กับเหล่า VCs นักลงทุนชื่อดังของเอเชียเช่น นางสาวปารดา ทรัพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ 500 Tuk Tuks เจฟฟรี เพนน์ (Jeffrey Paine) ผู้บริหารกองทุน Golden Gate Ventures อิน ยอง ชุง (In Young Chung)  Global Investment ของ Line Ventures โคอิชิ ไซโตะ (Koichi Saito) ผู้ก่อตั้งและบริหารกองทุน KK Fund

อัลเบิร์ต ชายย์ (Albert Shyy) Principle ของ Burda Principle Investment และ จัสติน เหงียน (Justin Nguyen) Principle ของ Monk’s Hill Venture  มาเป็นเมนเทอร์ เพื่อโค้ชบริษัทสตาร์ตอัพแบบตัวต่อตัว รวมถึงแชร์ทุกเรื่องที่ควรรู้เพื่อให้การระดมทุนในรอบ Series A ให้เป็นไปอย่างราบรื่น

นางสาวอณัฐภิสา จันทะไทย หัวหน้าโปรแกรม A Academy ภายใต้โครงการ ดีแทค แอคเซอเลอเรท กล่าวว่า ในปีนี้สถานการณ์ในวงการสตาร์ตอัพยังคงดุเดือดเหมือนเดิม สตาร์ตอัพไทยส่วนใหญ่ขาดเงินลงทุน ทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ “Series A Bottleneck” ซึ่งเป็นการกระจุกตัวของสตาร์ตอัพที่ระดับ Seed และไม่สามารถขยายเงินลงทุนขึ้นไปสู่ระดับ Series A ได้ ซึ่งการบริหารบริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น seed stage มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับบริษัทที่เริ่มscale ขยายการเติบโต

หลักสูตร A Academy โฟกัสในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ก่อตั้งบริษัท ใน 3 เรื่องหลักๆ ที่สำคัญ คือ

1) การระดมทุน (Fund raising) บริษัทสตาร์ตอัพผู้ก่อตั้งได้รับคำแนะนำจาก VC โดยตรง และเข้าใจว่า VC ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินใจลงทุน โดยมีVC ที่ลงทุนใน series A และ B มาเป็นเมนเทอร์ให้คำแนะนำลงลึกแบบตัวต่อตัว

2) ทักษะในการบริหาร (Management skill) การออกแบบโครงสร้างองค์กร การบริหารระดับกลาง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับ CEO ที่ ขยายทีมงานจาก 5 -10คนในตอนแรก เป็น 30 – 50 คน ดีแทค แอคเซอเลอเรท เป็นพันธมิตรกับ Google Launchpad Accelerator ในการจัด workshop ‘Leaders Lab’ ให้กับ CEOและ CTO เพื่อปูพื้นฐานหลักการบริหาร เกี่ยวกับทักษะการบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ

3) การขยายธุรกิจให้เติบโต (Growth & Scaling) ดีแทค แอคเซอเลอเรทเชิญกูรู จากซิลิคอล วาลเลย์ มาสอนเรื่อง การทำธุรกิจไปสู่ลูกค้ารายบุคคล B2C และการทำธุรกิจไปสู่กลุ่มลูกค้าองค์กร B2B และยังได้เป็นพันธมิตรกับ Google Cloud และ AWS ที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเมนเทอร์ เกี่ยวกับการใช้ Machine Learning และ AI เพื่อช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว

เจฟฟรี เพนน์ ผู้บริหารกองทุน Golden Gate Ventures อิน ยอง ชุง Global Investment ของ Line Ventures และโคอิชิ ไซโตะ (Koichi Saito) ผู้ก่อตั้งและบริหารกองทุน KK Fund ต่างระบุว่า

สตาร์ตอัพไทย มีจุดอ่อนในเรื่องของแนวคิด ตั้งแต่เริ่มต้นในการทำธุรกิจ ที่คิดถึงการแก้ปัญหาเฉพาะตลาดในประเทศ ต้องปรับเรื่องของแนวคิดให้มองธุรกิจ ที่ขยายสเกลได้ระดับโลก หรือภูมิภาค

ถ้ามองว่าไปต่อไม่ได้ต้องตัดใจหยุดทันทีและไปเริ่มธุรกิจใหม่ ประเทศไทยมีสตาร์ตอัพเพียง แค่ 1% เท่านั้นที่มีความพร้อมจะระดมทุนได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัย ในจำนวนของผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มที่น้อย และการขาดแคลนบุคคลากรทางด้านการคิดวิเคราะห์ดาต้า และโปรแกรมเมอร์ ซึ่งส่งผลให้สตาร์ตอัพไทยโตต่อไปได้ยาก

นายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ฟินโนมีนา กล่าวว่า “หลักสูตรนี้ ช่วยให้ ฟินโนมีนา ฟินเทคสตาร์ทอัพที่ได้เข้าร่วมโครงการ A-Academy ซึ่งปัจจุบันมีผู้สมัครสมาชิกแพลตฟอร์มแล้วกว่า 70,000 คน และมีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำการลงทุนกว่า 6,000 ล้านบาท เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นมาระดับหนึ่งก็จะเริ่มเจอความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไปในการที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่อง

การเข้าถึงผู้ใช้งานออนไลน์ในวงกว้างเริ่มทำได้ยากมากขึ้น และมีต้นทุนที่สูงมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องเริ่มมีโครงการที่จะพาร์ตเนอร์กับบริษัทเทคโนโลยีที่เข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก รวมไปถึงการมองหา CVC ที่สามารถช่วยสเกลขยายธุรกิจให้เติบโตไปอีกขั้น

นอกจากนี้ก็ยังมีความท้าทายด้านบุคลากร เนื่องจากจำนวนพนักงานเริ่มโตเข้าใกล้หลักร้อยคน ทำให้การสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีความท้าทายมากขึ้น การเข้าร่วม A-Academy ครั้งนี้ จะทำให้ฟินโนมีนาสามารถก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ไปได้อีกขั้น”

บริษัทสตาร์ตอัพในการดูแลของดีแทค แอคเซอเลอเรทได้รับการระดมทุนคิดเป็นมูลค่ากว่า 17% ของยอดการระดมทุนทั้งหมดของประเทศในปี 2018

โดยมีการระดมทุน Series A ของ Fast Work ดีแทค แอคเซอเลอเรท batch 4 ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในการระดมทุนระดับ Series A ที่ใหญ่ที่สุด และ Ricult ดีแทค แอคเซอเลอเรท batch 5 เป็นการระดมทุนระดับ Seed ของสตาร์ตอัพด้านการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้