โดย แซม เฟนวิค นักวิเคราะห์อาวุโส Opensignal
Opensignal ผู้ดำเนินการวิเคราะห์ระบบมือถือและกำหนดมาตรฐานระดับโลกเผยรายงาน “5G Global Mobile Network Experience Awards 2022” ในเดือนกันยายน 2565 พบผู้ใช้งาน Opensignal บนเครือข่าย DTAC 5G มีสัดส่วนเวลาที่ใช้ในการเชื่อมต่อ 5G คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกถึง 478.9% ระหว่างช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 และครึ่งปีแรกของปี 2565
ทำให้ DTAC 5G เป็นเครือข่าย 5G ดาวรุ่งพุ่งแรงระดับโลก (5G Global Rising Star) ตามหลักการชี้วัดนี้ เช่นเดียวกับ TrueMove H ที่ได้รับการจัดให้เป็นเครือข่าย 5G ดาวรุ่งพุ่งแรงระดับโลกด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 58.5% จากปีที่แล้ว และติด 20 อันดับแรกของโลก
ทั้ง AIS และ TrueMove H เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ประสิทธิภาพสูงระดับโลก (5G Global High Performers) ทั้งในด้านความพร้อมใช้งาน 5G และการเข้าถึง 5G ซึ่งผู้ให้บริการทั้งสองรายได้รับการยอมรับจากคะแนนสูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ ทั่วโลกช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565
ผู้ให้บริการเครือข่ายของไทยทั้ง 3 ราย ยังได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 30 อันดับแรกของโลกในเรื่องของการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย 5G เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย 4G ในครึ่งปีแรกของปี 2564 (ตามที่ระบุในการรายงานเรื่อง 5G Global Impact) ตั้งแต่หนึ่งหมวดหมู่เป็นต้นไป
จากการจัดอันดับในรายงาน 5G Global Impact awards ผู้ให้บริการเครือข่ายไทยทั้งสามราย AIS DTAC และ TrueMove H ได้รับรางวัลประสบการณ์วิดีโอ ขณะที่ DTAC และ TrueMove H ได้รับการยอมรับด้านประสบการณ์เกม ทั้งนี้ AIS และ TrueMove H ยังได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 30 อันดับแรกของโลกในด้านความเร็วในการดาวน์โหลด โดย AIS และ DTAC ได้รับรางวัลด้านความเร็วในการอัปโหลด
รายงาน 5G Global Impact ยังประกาศให้ AIS เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีการพัฒนาประสบการณ์วิดีโอสูงที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เห็นได้จากคะแนนประสบการณ์วิดีโอบนเครือข่าย 5G สูงกว่าจากเครือข่าย 4G ถึง 86.1% โดย DTAC เป็นผู้ให้บริการที่มีการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย 5G สูงสุดเป็นอันดับสามเมื่อเทียบกับประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย 4G ในด้านความเร็วในการอัปโหลด (265.1%)
Opensignal เปรียบเทียบประสบการณ์ผู้ใช้งานเครือข่ายมือถือ 5G จากผู้ให้บริการเครือข่ายช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 เพื่อพิจารณาว่าการให้บริการของผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกเป็นอย่างไร โดยใช้วิธีการวัดผลประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย 5G ตามตัวชี้วัดหลัก 6 ประการ และได้กำหนดผู้ชนะรางวัล 5G ระดับโลก (5G Global Winners)
โดยอ้างอิงจากช่วงความเชื่อมั่นเดียวกันกับผลลัพธ์ที่ได้รวบรวมไว้ในรายงานต่าง ๆ หากช่วงความเชื่อมั่นเกิดการทับซ้อนใกล้เคียงกันจะทำให้มีผลลัพธ์ทางสถิติเสมอกัน และจะประกาศให้ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองรายเป็นผู้ชนะร่วมกัน
นอกจากนี้ Opensignal ยังใช้ช่วงความเชื่อมั่นเป็นตัวชี้วัดเพื่อกำหนดผู้นำการให้บริการ 5G ระดับโลก (5G Global Leaders) และ ผู้ให้บริการ 5G ประสิทธิภาพสูงระดับโลก (5G Global High Performers) ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้บริการ 10 อันดับแรกและ 30 อันดับแรกตามลำดับ (ไม่นับรวมผู้ที่ชนะรางวัล 5G Global Winners) โดยในแต่ละหมวดหมู่จะมีจำนวนผู้ชนะแตกต่างกันออกไปเนื่องจากคะแนนของผู้ให้บริการเครือข่ายที่เสมอกันในทางสถิติ
นอกจากนี้ Opensignal ยังได้รวมอีก 4 หมวดหมู่ไว้ในรายงาน 5G Global Impact ได้แก่ ความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการอัปโหลด ประสบการณ์เกม และประสบการณ์วิดีโอ โดยหมวดหมู่เหล่านี้ประเมินจากประสบการณ์มือถือที่ผู้ใช้งานของเราได้รับการยกระดับหรือปรับปรุงขึ้นขณะเชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G เทียบกับ 4G ในครึ่งปีแรกของปี 2565
สำหรับรายงานฉบับนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ Opensignal ได้เปรียบเทียบว่าประสบการณ์ 5G เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแต่ละปี และยังได้วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างครึ่งปีแรกของปี 2564 และครึ่งปีแรกของปี 2565 และให้การยอมรับแก่ผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้งานสูงสุด 20% ใน 5 หมวดหมู่ ได้แก่ ความพร้อมใช้งาน 5G, การเข้าถึง 5G, ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G, ความเร็วในการอัปโหลด 5G และประสบการณ์เกม 5G
ผู้สนใจสามารถอ่านและดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มนี้ได้ที่ https://www.opensignal.com/reports/2022/09/global/5g-global-mobile-network-experience-awards