MediaTek นำโดยคณะผู้บริหารระดับสูงสามท่านร่วมอัปเดตความเป็นไปของบริษัทเชิงธุรกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ฯลฯ ในงาน MediaTek Media Gathering ในประเทศไทย ประจำปี 2566
คุณ Finbarr Moynihan รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาดองค์กรแห่ง MediaTek กล่าวถึงสถานการณ์ทางธุรกิจว่า “MediaTek มีอัตราการเติบโตทางธุรกิจที่แข็งแกร่งมาก เพิ่มขึ้นจากราว 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เป็น 18.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 และในปี 2565 เดียวกันนั้น ธุรกิจมือถือนับเป็น 54% ของรายได้ของ MediaTek ส่วนสมาร์ทเอดจ์ 39% และ Power IC 7% ตามลำดับ”
“ขณะที่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ฟื้นตัวจากโรคระบาด ก็เกิดปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ขาดตลาดตามมา ด้วยเหตุนี้ รายได้ของ MediaTek ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 จึงแตะ 3.3 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 11% เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2565”
ถัดมา คุณ Finbarr ได้กล่าวถึงธุรกิจมือถือว่า “บริษัทวิเคราะห์ข้อมูล IDC เผยว่า MediaTek มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นซัพพลายเออร์ชิปเซ็ตมือถืออันดับหนึ่งในปี 2564 และ 2565 แม้ว่าเซมิคอนดักเตอร์จะขาดตลาดช่วงปี 2564 แต่ MediaTek ก็สามารถคงส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้ที่ 41-42% ส่วนในปี 2566 อัตราการบริหารจัดการอุปสงค์-อุปทานนั้นเกินกว่า 35%”
“เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 MediaTek ได้เปิดตัว Dimensity 9200 จัดเป็นรุ่นเรือธงเจนเนอเรชันที่สอง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างสูง เป็นประจักษ์ในส่วนแบ่งการตลาด Dimensity 8200 รุ่นพรีเมียมที่ประกาศเปิดตัวไปล่าสุดก็ได้รับการตอบรับอย่างดีเช่นกัน Dimensity 7200 รุ่นไฮเอนด์ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานมานี้ โดยใช้เทคโนโลยี TSMC 4nm บนแกน Armv9 CPU MediaTek ยังได้นำคุณสมบัติจากรุ่นอัลตร้าพรีเมียมอย่างกล้องมาสู่อุปกรณ์รุ่นกลางๆ ด้วย”
หัวข้ออินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) คุณ Finbarr กล่าวว่า “MediaTek เล็งเห็นว่าบรรดาบริษัทพะวงเรื่องรายจ่ายและการใช้พลังงาน MediaTek จึงเปลี่ยนไปใช้โซลูชั่นที่ใช้ ARM อย่างที่เชี่ยวชาญ MediaTek ยังเชี่ยวชาญในสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ที่บรรดาบริษัทหันไปใช้แทนเทคโนโลยีแบบเดิมๆ : Linux, Android, การเชื่อมต่อ การเปิดรับ 5G และ Wi-Fi, AI at the Edge, กล้องอัจฉริยะ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ ฯลฯ
MediaTek มีแพลตฟอร์ม IoT คือ Genio อันเปี่ยมประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และสามารถประมวลผลขั้นสูงได้จากเทคโนโลยีแกน ARM นอกจากนี้ ยังมาพร้อมกับแพลตฟอร์มเพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นข้อหนึ่งที่ MediaTek ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด”
คุณ Chinlin Low ผู้จัดการฝ่าย Technical Account ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ได้อัปเดตนวัตกรรม 5G ไว้ว่า “ในเฟสแรกของ 5G เริ่มจาก Release 15, 16, 17 MediaTek นำเสนอ eMBB, mMTC, URLLC, NTN และ Redcap เป็นต้น มาถึงเฟส 2 5G F-1 เราจะยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้งานโดยการนำเสนอ Sidelink, UAV, XR, MMTC และ URLLC”
“ใน Release 17 MediaTek ได้เสนอแนวคิด 5G Redcap มีความประสงค์จะนำเอาประโยชน์จาก 5G แห่งอนาคต มาแปรเปลี่ยนเป็น Smartwatches, AR glasses, อุปกรณ์ข้อมูลและความบันเทิง และ 5G IoT ดังนั้น 5G Redcap จะแสดงถึงแอพพลิเคชันที่ได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติของ 5G เพื่อนำความหน่วงต่ำและการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้มาสู่ผู้ใช้งาน”
“เทคโนโลยีล้ำหน้าที่ MediaTek ได้นำเสนอในปีนี้อีกสิ่งหนึ่งคือการเชื่อมต่อดาวเทียม 5G-NTN ผ่านทางชิปดาวเทียม 5G แรก ซึ่งได้รับรางวัลมากมายจาก MWC และ CES ทั้งยังได้รับเสียงตอบรับเชิงบวกจากสื่อมวลชนสายเทคโนโลยีทั่วโลก”
“MediaTek ได้ผสานรวม APU เข้ากับโปรเซสเซอร์ AI ในโมเด็ม 5G เพื่อให้ตอบสนองอย่างทันท่วงที ประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น และเป็นโปรเซสเซอร์เดี่ยว โดย APU จะไม่ลดทอนประสิทธิภาพ CPU และ GPU” คุณ Chinlin กล่าว
คุณ Chunyan See ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทยได้กล่าวถึงความร่วมมือในประเทศไทยไว้ว่า “ในเดือนพฤษภาคม 2566 ที่เซี่ยงไฮ้ Auto Show เราได้เปิดตัว MediaTek Dimensity Auto ที่ประมวลผลที่ 3nm อันมี CPU และ GPU ล่าสุด มี 5G-NTN และ Wi-Fi 7 ครบถ้วน
และที่งาน Computex เราได้ประกาศความร่วมมือทางยุทธศาสตร์กับ NVIDIA เรื่องผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้ระบบ AI ขั้นสูง มีความสามารถในการเชื่อมต่อ และระบบคอมพิวติ้งสำหรับห้องโดยสารอัจฉริยะในอนาคต ประเทศไทยเป็นฐานปฏิบัติการยานยนต์ขนาดใหญ่ และรัฐบาลก็ยังสนับสนุนเทคโนโลยี EV ดังนั้น Dimensity Auto พร้อมด้วย Wi-Fi 7 จะมอบประสบการณ์การใช้ยานยนต์ชั้นยอด”
“ในฐานะผู้นำตลาดชิปเซ็ต Wi-Fi ผู้ให้บริการไทยตอบรับอย่างล้นหลามในบริการบรอดแบนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Wi-Fi 6”
“ด้วยความเร็วแรงที่ 15.8 กิกะบิตต่อวินาที MediaTek จะนำ Wi-Fi 7 SoC เข้าสู่ประเทศไทยอย่างแน่นอน”
“MediaTek Genio ได้ครองตลาด Smart fitness-home-retail ในภาคส่วนอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) MediaTek ได้เจรจาทางธุรกิจกับบริษัทฟินเทคสัญชาติไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
“NeuroPilot – แพลตฟอร์ม Edge AI ของ MediaTek ช่วยให้การปรับแต่งเพื่อให้เข้ากับ Use case เป็นเรื่องง่ายดายสำหรับนักพัฒนาชาวไทย เนื่องจากสามารถใช้แค่เพียงชิปเดียว”
“ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทสัญชาติไทยเพื่อพัฒนาและฝึกฝนนักพัฒนาให้ใช้ชิปเซ็ต MediaTek สำหรับผลิตภัณฑ์ของพวกเขา” คุณ Chunyan กล่าวทิ้งท้ายก่อนจบเซสชัน MediaTek Media Gathering ในประเทศไทย ประจำปี 2566