คลังเก็บ

M.TECH ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ร่วมมือกับพันธมิตรไอทีรับมือกับภัยในยุค New Normal 2020

จากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยต่างต้องปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการให้พนักงานทำงานจากนอกสถานที่ในลักษณะที่เรียกว่า Work From Home (WFH) ซึ่งนอกเหนือจากการทำงานที่ต้องเปลี่ยนไปแล้วยังรวมไปถึงประสบการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุคที่เรียกกันว่า New Normal ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Marketplace ที่เป็นแบบดิจิตอลจะเติบโต, บริการด้านการจัดส่งในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะมีมากขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนั้นแล้วในยุค New Normal นี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มมากขึ้นการใช้งานข้อมูล และเรื่องของ Big Data ที่เน้นเพื่อการบริหารจัดการที่ดีกว่าเดิม

M.TECH

กฤษณา เขมากรณ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย M-Solutions Technology (Thailand) Co., Ltd. กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ผู้คนที่เคยทำงานในลักษณะแบบเดิม (Office Workers) ต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นลักษณะการทำงานที่อยู่ในระยะไกล (Remote Workers) นอกสถานที่มากขึ้น และก็จะเป็นแนวทางใหม่ที่เราคาดว่ามันจะเกิดขึ้นหลังจากนี้เป็นจำนวนมาก

จากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้หลายองค์กรตื่นตัวในเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น มองเห็นความสำคัญ และความจำเป็นในเรื่องเทคโนโลยีรวมถึงความปลอดภัยของยุค New Normal

โครงสร้างระบบอินฟราสตรัคเจอร์ก็จะมีการปรับเปลี่ยนไป จากที่เคยเป็นลักษณะการทำงานที่อาศัยระบบทุกอย่างอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร (On-Prem) ก็จะเปลี่ยนไปสู่ระบบที่เป็นแบบไฮบริดที่ใช้ควบคู่ระหว่าง On-Prem ผนวกกับการใช้งานระบบที่รันอยู่บนคลาวด์ หรือบางองค์กรวางแผนย้ายระบบทั้งหมดไปอยู่ ไปรันอยู่บนคลาวด์เต็มตัว ก็มีความเป็นไปได้สูงมาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์กรเหล่านั้นจำเป็นต้องรองรับการทำงานของบุคลากรประเภท Remote Workers ในยุค New Normal นั่นเอง

อย่างไรก็ตามแม้การทำงานในแบบ Remote Workers หรือการทำงานผ่านระบบคลาวด์นั้นจะช่วยตอบโจทย์ของธุรกิจในยุคใหม่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เรายังต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาด้วยนั่นก็คือ เรื่องของอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cyber Crime )

โดยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่มักจะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี ที่เห็นได้ชัดเจนก็มีด้วยกัน 8 กลุ่มหลักๆ อาทิเช่น หน่วยงานของภาครัฐ, สถาบันการเงินและธนาคาร, อุตสาหกรรมทางการแพทย์, ธุรกิจที่ให้บริการด้านโทรคมนาคม, ธุรกิจด้านประกันภัย, การขนส่ง และการคมนาคม, บริการด้านการค้าออนไลน์, หน่วยงานที่ให้บริการด้านการจัดการข้อมูล ธุรกิจในข้างต้นนี้เป็นเป้าหมายที่สำคัญ และโดนโจมตีอยู่บ่อยครั้งทำให้เกิดความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับภัยคุกคาม หรือวิธีการโจมตีที่เกิดขึ้นนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประการ อย่างเช่น การเรียกค่าไถ่ไฟล์ หรือที่เรียกว่า แรนซั่มแวร์ (Ransomware) ที่สร้างความเสียหายให้กับองค์กรต่าง ๆ เป็นมูลค่าเงินมหาศาล, การใช้เทคนิคหลอกลวง (Web Phishing) โดยการส่งอีเมล์ปลอมเพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือพาสส์เวิร์ด หรือข้อมูลบัตรเครดิตผ่านหน้าเว็บปลอม เป็นต้น หรือเทคนิคแบบ Cryptocurrency Mining ที่แฮ็กเกอร์ทำเข้าแฮ็กเว็บไซต์หรือระบบขององค์กรเพื่อทำการฝังสคริปต์บางอย่าง ให้ทรัพยากรระบบขององค์กรนั้นกระทำตามสิ่งที่แฮ็กเกอร์ต้องการ เช่น นำเอาไปขุดเงินดิจิตอล เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการของอาชญากรรมไซเบอร์มีการเจริญเติบโตตามรอยเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเช่นกัน  ทาง M-Solutions Technology (Thailand) Co., Ltd. ได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามที่คุกคาม ได้แก่ Attivo, Netskope, Tanium และ Silverfort  นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจาก McAfee, Gigamon และ nCipher เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อครึ่งปีแรกที่ผ่านมา

โดยแต่ละเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อโลกไซเบอร์ ดังต่อไปนี้

Attivo Deception Technology

เป็นเทคโนโลยีเพื่อตรวจจับภัยคุกคาม และเฝ้าระวังการโจมตีโดยใช้การวางกับดักและเหยื่อล่อ เสริมการตรวจจับให้มีความแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบโต้ และลดความซ้ำซ้อนของการทำงานในโลก Cyber Security

Netkope Cloud Security

เป็นเทคโนโลยีที่มาช่วยรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์แพลตฟอร์ม ทำหน้าที่ปกป้องข้อมูล และการป้องกันภัยคุกคามในแอพพลิเคชั่นคลาวด์, โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ และได้รับการยอมรับจาก Gartner ให้เป็นผู้นำทางด้านนี้โดยเฉพาะ

Tanium Unified Endpoint Management and Security Platform Closes IT Gap

เป็นซอฟแวร์ที่สามารถบริหารจัดการ และรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Endpoint) ได้ในตัวเดียวกัน ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสะดวก และความปลอดภัยในการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ลูกข่ายได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Silverfort Multi-Factor Authentication 

เทคโนโลยีที่ช่วยในการพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งาน โดยเพิ่มเรื่องการประเมินความเสี่ยงของพฤติกรรมผู้ใช้งาน Risk-Based Authentication (RBA) และ Zero Trust นอกเหนืองจาก Factor อื่น ๆ ทั่วไปนอกจาก Hardware Token , Software Token โดยไม่ต้องติดตั้ง Agent

McAfee The device-to-cloud cybersecurity

เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุม Endpoint, Network และ Cloud ในรูปแบบ Device-to-Cloud โดยเป็นบริษัทชั้นนำทางด้าน Cyber Security ให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Integration) มีระบบบริหารจัดการแบบองค์รวมที่ทำงานได้อย่างชาญฉลาด (Orchestrate Holistic) เพื่อให้เหมาะกับ Lifestyle ของผู้ใช้งานในยุคดิจิทัล

Gigamon Network Visibility and Analytics

เทคโนโลยีที่ช่วยในการมองเห็น, เข้าถึง และแยกแแยะข้อมูลแทรฟฟิคเครือข่าย ทำให้โซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย Security Analytics และ Network Performance ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

nCipher Cryptographic Solutions 

เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการบริหารจัดการรหัสลับและมีฮาร์ดแวร์จัดเก็บ Key  เรียกว่า Hardware Security Module (HSM)

สำหรับ M-Solutions Technology (Thailand) Co., Ltd. ซึ่งเป็นผู้นำในการจัดหาบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้เข้าใจถึงประเด็น และแนวโน้มของภัยคุกคามเหล่านี้ ได้มีการแนะนำองค์กรให้ดำเนินตามกรอบความปลอดภัยที่มีความสากล ผ่านทางเฟรมเวิร์กที่สำคัญ เช่น การที่องค์กรจะต้องสามารถระบุตัวตน และประเมินสภาพแวดล้อมระบบของตนเองได้ (Identify) และทำการวางแผนป้องกันทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร (Protect) รวมถึงต้องสามารถตรวจสอบหรือชี้ชัดสิ่งผิดปกติหรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้น (Detect)

ได้ทันที และที่สำคัญต้องรับมือกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ (Respond) ตลอดจนต้องสามารถที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินการได้อย่างปกติ (Recover) ได้เหมือนปกติ

“เฟรมเวิร์กเหล่านี้มีองค์ประกอบ และเทคโนโลยีที่มาเกี่ยวข้องมากมาย ทางบริษัทฯ ของเราก็พร้อมที่จะช่วยให้คำปรึกษา และโซลูชั่นให้กับทุกหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน มีความพร้อมในเรื่องการให้บริการและความปลอดภัยภายใต้วิถีชีวิตใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมที่จะสนับสนุนพาร์ทเนอร์พันธมิตรนำเทคโนโลยีไปสู่องค์กรตอบรับวิถีชีวิตใหม่ในโลกดิจิตอล”  กฤษณา กล่าวทิ้งท้าย