ประเทศไทยติดอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านความพยายามในการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องตามดัชนี Global COVID-19 Index (GCI) และในการจัดอันดับระดับโลก ประเทศไทยก็เคยอยู่ในอันดับหนึ่งจาก 184 ประเทศทั่วโลกเช่นกัน ด้วยความสำเร็จในการชะลอการแพร่ระบาดและมาตรการที่ผ่อนคลายลง ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SMB ในไทยต่างก็พิจารณาใช้เทคโนโลยีเพื่อประคองตัวให้ลอยเหนือความท้าทายต่างๆ ที่เกิดในช่วงนี้
จากการสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก พบว่าก่อนที่จะมีมาตรการล็อกดาวน์เนื่องจาก COVID-19 ผู้ใช้ในประเทศไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 5 นาทีทุกวัน สูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากบราซิล ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 56 นาที ทั้งนี้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด ระยะเวลาที่ใช้ท่องเวิลด์ไวด์เว็บเพิ่มขึ้นอีก 2-5 ชั่วโมงต่อวัน
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจกลุ่มผู้บริโภค 250 คนที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออย่างน้อยสองเครื่องในครัวเรือนในประเทศไทยในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 69% ชอบช้อปปิ้งออนไลน์และ 59% ทำธุรกรรมทางการเงินโดยใช้อินเทอร์เน็ต
แม้ว่ากระบวนการใช้ข้อมูลที่เป็นดิจิทัลเพื่อประโยชน์สูงสุด หรือ Digitalisation จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก แต่ก็ยังเปิดช่องโหว่ที่อาชญากรไซเบอร์สามารถใช้งานได้ ข้อมูลจากแคสเปอร์สกี้ได้เปิดเผยว่า บริษัทขนาดกลางและเล็กส่วนใหญ่ตกเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สำคัญสามประการ ฟิชชิ่ง แรนซัมแวร์ และไมนิ่ง
ฟิชชิ่ง (Phishing)
ฟิชชิ่งเป็นการโจมตีแบบวิศวกรรมสังคมประเภทหนึ่งที่ยืดหยุ่นที่สุด อาชญากรไซเบอร์มักใส่หัวข้อยอดนิยมที่เป็นกระแสไว้ในเนื้อหา เพื่อเพิ่มโอกาสในการเปิดลิ้งก์ที่ติดไวรัสหรือไฟล์แนบที่เป็นอันตราย ความเสียหายของอาชญากรรมออนไลน์นี้มีตั้งแต่เครือข่ายของบริษัทถูกแฮ็ก ไปจนถึงข้อมูลที่เป็นความลับถูกขโมย ข้อมูลระบุตัวบุคคล ข้อมูลประจำตัวทางการเงิน และแม้แต่ความลับขององค์กร
สถิติล่าสุดจาก Anti-Phishing System ของแคสเปอร์สกี้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2020 มีตัวเลขการป้องกันการพยายามโจมตีบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีพนักงาน 50-250 คน ด้วยฟิชชิ่งจำนวน 767,530 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 24.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 600,000 ครั้ง ประเทศไทยมีตัวเลขอยู่ที่ 103,378 ครั้ง ติดอันดับสี่ในภูมิภาค
แรนซัมแวร์ (Ransomware)
แรนซัมแวร์กลายเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับหลายองค์กร แม้ว่าจากมุมมองทางเทคนิค แรนซัมแวร์จะไม่ใช่ภัยคุกคามขั้นสูงสุด แต่ก็ทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถปิดกั้นการดำเนินธุรกิจและรีดไถเงินได้
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2020 โซลูชั่นของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการพยายามโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ทั้งหมด 235,100 ครั้งต่อ SMB ในภูมิภาค สถิตินี้แสดงให้เห็นว่าแรนซัมแวร์มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามนี้ได้กลายเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว
จากการวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ พบว่าการโจมตีของแรนซัมแวร์ในปัจจุบันจำนวนหนึ่งในสามมีเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทางธุรกิจ ดังนั้นแม้ว่าจำนวนการพยายามโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ทั้งหมดที่ตรวจพบในภูมิภาคนี้ลดลง 58.69% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ความเสี่ยงของ SMB และองค์กรที่สูญเสียข้อมูลและเงินสดเนื่องจากภัยคุกคามนี้ยังคงมีอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยมีตัวเลขอยู่ที่ 28,791 ครั้ง ติดอันดับสามในภูมิภาค
ไมนิ่ง (Mining)
ปัญหาข้อมูลรั่วไหลและแรนซัมแวร์ดูเหมือนจะเป็นความกังวลของบริษัทส่วนใหญ่ในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตาม สถิติจากแคสเปอร์สกี้เปิดเผยว่าภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ไม่ใช่ฟิชชิ่งหรือแรนซัมแวร์ หากแต่เป็นไมนิ่ง
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ติดเชื้อแล้ว ผู้ก่อภัยไมนิ่งจะควบคุมการประมวลผลของเครื่องเพื่อจุดประสงค์ที่ชั่วร้ายของตนเอง อาการและผลที่เกิดจากไมนิ่งที่เป็นอันตรายนั้นไม่ชัดเจนและไม่เกิดขึ้นทันทีเหมือนอย่างการโจมตีแบบแรนซัมแวร์และฟิชชิ่ง แต่ผลที่ตามมานั้นมีค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว
จากสถิติไตรมาส 2 ปี 2020 ของแคสเปอร์สกี้พบว่า มีความพยายามโจมตีด้วยไมนิ่งจำนวน 662,622 ครั้ง ซึ่งมีจำนวนน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคนี้เป็นเป้าหมายหลักของอาชญากรไซเบอร์ เนื่องจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซียนั้นติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศทั่วโลกที่ถูกโจมตีมากที่สุด ในขณะที่ประเทศไทยมีตัวเลขอยู่ที่ 79,741 ครั้ง อยู่ในอันดับที่สี่ในภูมิภาค
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไตรมาส 2 2020 | ||||||
ฟิชชิ่ง | แรนซัมแวร์ | ไมนิ่ง | ||||
ประเทศ | จำนวนที่ตรวจจับได้ | อันดับระดับโลก | จำนวนที่ตรวจจับได้ | อันดับระดับโลก | จำนวนที่ตรวจจับได้ | อันดับระดับโลก |
อินโดนีเซีย | 213,638 | 21 | 136,222 | 4 | 238,356 | 4 |
มาเลเซีย | 137,427 | 35 | 1,730 | 45 | 117,732 | 8 |
ฟิลิปปินส์ | 48,995 | 58 | 2,490 | 41 | 4,475 | 44 |
สิงคโปร์ | 44,439 | 60 | 132 | 54 | 2,413 | 49 |
ไทย | 103,378 | 42 | 28,791 | 19 | 797,41 | 11 |
เวียดนาม | 219,653 | 19 | 65,735 | 8 | 219,905 | 5 |
นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้โดยใช้มาตรการปกติใหม่ หรือ New normal ผู้คนกลับเข้าทำงานและถูกจ้างงานอีกครั้ง เมื่อพูดถึงการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของธุรกิจ ดิฉันคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการรีเซ็ตครั้งใหญ่ บริษัทต่างๆ ควรพิจารณาและเสริมสร้างแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันความพยายามของอาชญากรไซเบอร์ซึ่งอาศัยช่องโหว่และสถานการณ์วิกฤตของเหยื่อเพื่อประโยชน์ของตนเอง”
“การโจมตีทางไซเบอร์ในปัจจุบันนั้นถูกและง่ายกว่าที่เคย ธุรกิจ SMB จึงพบว่าตัวเองตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์โดยเฉพาะ และเพื่อสนับสนุนธุรกิจในระหว่างการฟื้นตัวจากช่วงโรคระบาดนี้ แคสเปอร์สกี้มีโซลูชั่นที่ครอบคลุมหลายประการสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจใหม่อย่างปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งรวมถึงโซลูชั่น Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum ที่จะสร้างการป้องกันเชิงลึกอย่างแท้จริง และเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยโดยใช้การตอบสนองอัตโนมัติและการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง” นางสาวเบญจมาศ กล่าวเสริม
เพื่อช่วยให้ SMB ฝึกอบรมพนักงานเพื่อพร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ แคสเปอร์สกี้ขอเสนอการฝึกอบรมการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยอัตโนมัติฟรี 3 เดือน (Automated Security Awareness Training) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ SMB ปรับปรุงข้อมูลและข้อปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท โปรแกรมนี้มีให้บริการจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2020 และใช้ได้กับผู้ใช้มากถึง 500 คน เจ้าของธุรกิจที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้โดยไปที่ลิ้งก์นี้ www.k-asap.com
นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ยังตระหนักถึงความท้าทายที่กลุ่มธุรกิจ SMB ต้องเผชิญ ดังนั้นจึงขอเสนอโปรโมชั่นซื้อไลเซ่นส์ 1 ปี รับสิทธิ์การใช้งานเพิ่มฟรีอีก 1 ปี สำหรับสำหรับโซลูชั่นเอ็นพอยต์ต่างๆ ประกอบด้วย
- Kaspersky Endpoint Security for Business
- Kaspersky Endpoint Security for Cloud and Cloud Plus
- Kaspersky Security for Microsoft Office 365
- Kaspersky Hybrid Cloud Security
ท่านสามารถดูโปรโมชั่นเพิ่มเติมของภูมิภาคนี้ได้ที่ https://go.kaspersky.com/KESB_new_prospect_SEA.html
ตัวเลขที่น่าสนใจของไตรมาส 2 ปี 2020 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ฟิชชิ่ง
- พบความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่ง 767,530 ครั้ง ต่อบริษัทที่มีพนักงาน 50-250 คน
- เพิ่มขึ้น 24.30% เปรียบเทียบกับตัวเลขไตรมาส 2 ปี 2019 (617,461 ครั้ง)
- ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของภูมิภาค และอันดับ 42 ของโลก
แรนซัมแวร์
- พบความพยายามโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ 235,100 ครั้ง ต่อบริษัทที่มีพนักงาน 50-250 คน
- น้อยลง 58.69% เปรียบเทียบกับตัวเลขไตรมาส 2 ปี 2019 (569,145 ครั้ง)
- ประเทศไทยติดอันดับ 3 ของภูมิภาค และอันดับ 19 ของโลก
ไมนิ่ง
- พบความพยายามโจมตีด้วยไมนิ่ง 662,622 ครั้ง ต่อบริษัทที่มีพนักงาน 50-250 คน
- น้อยลง 62.30% เปรียบเทียบกับตัวเลขไตรมาส 2 ปี 2019 (1,757,808 ครั้ง)
- ประเทศไทยติดอันดับ 4 ของภูมิภาค และอันดับ 11 ของโลก
###
เกี่ยวกับรายงาน
รายงานของแคสเปอร์สกี้ เรื่อง “More connected than ever before: how we build our digital comfort zones” เป็นการศึกษาว่าเรารับรู้ถึงความสะดวกสบายแบบดิจิทัลของเราอย่างไร และการระบาดใหญ่ส่งผลต่อมุมมองเหล่านี้อย่างไร
การศึกษาดำเนินการโดยหน่วยงานวิจัย Sapio ผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี เม็กซิโก เปรู ฟิลิปปินส์ ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ สเปน ไทย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และมีการรวบรวมคำตอบแบบสำรวจในเดือนพฤษภาคม 2020 มีการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 10,081 คนในประเทศที่ระบุ
เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้
แคสเปอร์สกี้เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตระดับโลกที่ก่อตั้งในปี 1997 ด้วยความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโซลูชั่นความปลอดภัยยุคใหม่ที่ให้บริการด้านการป้องกันสำหรับธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลและลูกค้าทั่วโลก การให้บริการของแคสเปอร์สกี้ประกอบด้วยการป้องกันคอมพิวเตอร์ รวมถึงโซลูชั่นและบริการด้านการป้องกันความปลอดภัยเฉพาะทางจำนวนมากเพื่อป้องกันภัยคุกคามดิจิทัล ซึ่งแคสเปอร์สกี้ได้ป้องกันความปลอดภัยและปกป้องสิ่งที่สำคัญที่สุดให้แก่ผู้ใช้กว่า 400 ล้านคน และผู้ใช้องค์กรอีกกว่า 250,000 ราย ศึกษาข้อมูลเพี่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com