คลังเก็บ

หัวเว่ยเผยรายงานด้านความยั่งยืน ปี 2563 ภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีเพื่อสิ่งที่ดี พัฒนาสังคมที่ยั่งยืนด้วย ICT”

หัวเว่ยเผยแพร่รายงานด้านความยั่งยืนปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการเผยแพร่อย่างต่อเนื่องถึง 13 ปีแล้ว โดยรายงานฉบับปี 2563 กล่าวถึงความคืบหน้าที่สำคัญของหัวเว่ยในปีที่ผ่านมา ภายใต้กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน 4 เรื่อง ได้แก่ ความเท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีดิจิทัล การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการสร้างอีโคซิสเต็มที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

โครงการ TECH4ALL เพื่อสร้างความเท่าเทียมและครอบคลุมทางดิจิทัลในโลกดิจิทัล  เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยเปิดตัวโครงการ ‘ล้อแห่งทักษะ’ (Skills on Wheels program) และโครงการการเชื่อมต่อโรงเรียนต่าง ๆ (Connecting Schools program) กว่า 200 แห่งทั่วโลก สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ผู้คนมากกว่า 60,000 ชีวิต นอกจากนี้ หัวเว่ยยังใช้โซลูชันด้าน ICT เพื่อช่วยเหลือในด้านการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดตามชุมชนต่าง ๆ โดยได้นำไปปฏิบัติงานและช่วยเหลือทางเทคนิคในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ช่วยสนับสนุนชุมชนในพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบากในเวลานี้

ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยยังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวช่วยปกป้องเขตอนุรักษ์จำนวน 22 แห่งใน 18 ประเทศ เพื่อทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหัวเว่ยยังได้เปิดตัวโซลูชัน RuralStar Pro เพื่อส่งมอบบริการด้านเสียงและเครือข่ายสัญญาณมือถือให้แก่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกล ปัจจุบัน โซลูชัน RuralStar ของหัวเว่ยได้ส่งมอบโครงข่ายที่ครอบคลุมการใช้งานของผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในพื้นที่ชุมชนห่างไกล

ยึดมั่นผู้คนเป็นศูนย์กลางสร้างผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และบริการที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และมีคุณภาพสูง

คุณเทา จิงเหวิน คณะกรรมการและประธานกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน (CSD) ของหัวเว่ยกล่าวในรายงานฉบับนี้ว่า “เราเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีควรให้ความสำคัญกับผู้คนเป็นหลัก ควรรับใช้ผู้คนในรูปแบบที่ให้ความเคารพถึงสิทธิของพวกเขาอย่างเต็มที่ ด้วยการให้ความมั่นใจในการชี้แจงรายละเอียดด้านตัวเลือกและความยินยอมต่าง ๆ อย่างเต็มที่”

หัวเว่ยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันความเป็นส่วนตัวเป็นอันดับต้น ๆ ในปี พ.ศ.2563 หัวเว่ยเปิดตัวแนวทางและเกณฑ์การประเมินความสามารถด้านความน่าเชื่อถือของกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ (Software Process Trustworthiness Capability Framework and Assessment Criteria) ซึ่งทำให้เกิดกลไกการผลิตชุดคำสั่ง (coding) ที่มีความน่าเชื่อถือแบบครบชุด โดยจนถึงช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยครอบครองสิทธิบัตรเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันความเป็นส่วนตัวทั่วโลกรวมทั้งหมด 2,963 รายการ และในปีที่ผ่านมา บริษัทยังลงนามในสัญญาว่าด้วยการประมวลผลข้อมูลกับผู้ผลิตสินค้ากว่า 5,000 รายและยังมุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานทั้งหมดจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

เทคโนโลยีเพื่อโลกที่ดีกว่า: เสริมพลังการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี

คุณเหลียง หัว ประธานบริษัทหัวเว่ยกล่าวในรายงานว่า “โลกอัจฉริยะควรเป็นโลกสีเขียวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีช่วยให้เราเข้าใจและปกป้องธรรมชาติ รวมถึงบรรเทาผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อโลกของเราได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังเชื่อว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถร่วมมือกับธรรมชาติและช่วยทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้นได้”

จากความมุ่งมั่นของบริษัทในการสร้างโลกดิจิทัลที่ยั่งยืนกว่าเดิมและเป็นโลกสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหัวเว่ยจึงให้ความสำคัญกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และสนับสนุนเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน โดยในปี พ.ศ. 2563 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหัวเว่ยต่อยอดขาย 1 ล้านหยวน ลดลงถึง 33.2% เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ. 2555) และยังมากกว่าเป้าหมายที่ทางบริษัทตั้งไว้ที่ 30% ในปี พ.ศ. 2559 อีกด้วย

เพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน หัวเว่ยได้นำโซลูชันพลังดิจิทัลมาใช้ในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค พร้อมให้บริการแก่จำนวนประชากร 1 ใน 3 ของประชากรทั้งโลก จนถึงปัจจุบัน โซลูชันเหล่านี้ผลิตกระแสไฟฟ้ากว่า 325,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และช่วยลดการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 10,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ความพยายามเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงถึง 160 ล้านตัน

เทคโนโลยีเพื่อสิ่งที่ดี :เดินหน้าสร้างคุณค่าทางสังคมและขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

นอกจากการมุ่งสร้างคุณค่าทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้า หัวเว่ยยังให้ความสําคัญต่อการสร้างคุณค่าทางสังคมให้กับ ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs.)

ท่ามกลางวิกฤตการณ์โควิด-19 หัวเว่ยได้ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานทุกคนและช่วยให้ซัพพลายเออร์รวมทั้งผู้รับเหมาสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้จัดตั้งโครงการการกุศลกว่า 650 โครงการทั่วโลก และความสำเร็จของโครงการหลักอย่าง ‘Seeds for the Future’ ที่สนับสนุนและพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT ให้แก่เยาวชนก็สามารถสร้างคุณประโยชน์ให้แก่นักศึกษาได้เกือบ 9,000 คนจากใน 130 ประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งจะกลายมาเป็นบุคลากรที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถและสร้างคุณค่าต่ออุตสาหกรรม ICT ในอนาคต

ในยุคหลังโรคระบาดโควิด-19 เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน หัวเว่ยพร้อมร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อนำโซลูชันด้าน ICT มาใช้ในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ และท้ายที่สุดแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลจะเปิดกว้างให้ทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กรสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เพื่อโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์

ท่านสามารถอ่านรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนของหัวเว่ยประจำปี 2563 ได้ที่ http://www.huawei.com/en/sustainability/sustainability-report