หัวเว่ย เปิดตัวชิพหลักรุ่นแรกของโลก “หัวเว่ย เทียนกัง” (Huawei TIANGANG) เพื่อการใช้งานสำหรับสถานีฐาน 5G โดยเฉพาะ ในงานเปิดตัว 5G ที่กรุงปักกิ่งซึ่งจัดขึ้นเพื่อแถลงความพร้อมสำหรับงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2019 ที่เมืองบาร์เซโลน่า
โดยชิพใหม่ดังกล่าวสามารถรองรับการใช้งานเครือข่าย 5G ทั้งแบบที่ไม่ซับซ้อนและเครือข่ายขนาดใหญ่ระดับโลก ปัจจุบัน บริษัทมีสัญญา 5G เชิงพาณิชย์แล้ว 30 ฉบับ และได้ส่งมอบสถานีฐาน 5G ไปทั่วโลกแล้วกว่า 25,000 ชุด
หัวเว่ยตั้งใจที่จะรับเอาความซับซ้อนไว้ที่ตัวเองเพื่อให้การใช้งานของลูกค้าง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงได้ลงทุนอย่างหนักหน่วงเพื่อเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ชิพ 5G แบบครบวงจรของหัวเว่ยสามารถรองรับเครือข่ายได้ทุกมาตรฐานและทุกคลื่นความถี่ (C band, 3.5G และ 2.6G) ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการไร้สายและคลื่นไมโครเวฟที่ดีที่สุดได้
“หัวเว่ยทุ่มเทลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานมาอย่างยาวนาน เราเป็นบริษัทรายแรกที่ได้สร้างมาตรฐานใหม่ๆ ให้กับเทคโนโลยีหลักๆ เพื่อให้เกิดการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ในวงกว้าง” มร. ไรอัน ติง กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมของหัวเว่ย กล่าว
ก่อนเสริมต่อว่า “ปัจจุบัน หัวเว่ยมีศักยภาพในระดับผู้นำของอุตสาหกรรมที่สามารถส่งมอบเทคโนโลยี 5G แบบครบวงจร ด้วยเครือข่าย 5G ที่ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องดูแลรักษามาก เราเป็นผู้นำในการวางโครงข่าย 5G เชิงพาณิชย์ และกำลังสร้างระบบนิเวศด้านอุตสาหกรรมให้เติบโตเฟื่องฟู” มร. ไรอัน ติง กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมของหัวเว่ย ระหว่างกล่าวปาฐกถา
ชิพหลักสำหรับสถานีฐาน 5G รุ่นแรกของโลก
ในงานหัวเว่ยได้เปิดตัวชิพหลักสำหรับ 5G รุ่นแรกของอุตสาหกรรรม ในชื่อ “หัวเว่ย เทียนกัง” มาพร้อมกับนวัตกรรมจากการค้นพบอันยิ่งใหญ่ในด้านการผสมผสานการใช้งาน พลังการประมวลผล และแบนด์วิธคลื่นความถี่ ชิพตัวนี้มีคุณสมบัติด้านการผสานการใช้งานในระดับสูง สามารถรองรับการใช้งานที่ผสานกันระหว่างพาวเวอร์แอมพลิไฟเออร์ (PA) แบบแอคทีฟในสเกลใหญ่และสายอากาศแถวลำดับแบบพาสซีฟ (Passive antennae arrays) กับเสาอากาศขนาดเล็ก
ชิพนี้ยังมีความสามารถในการประมวลผลที่สูงเป็นพิเศษ มากกว่าชิพรุ่นก่อนถึง 2.5 เท่า โดยใช้อัลกอริธึ่มล่าสุดและเทคโนโลยี Beamforming ชิพหนึ่งตัวจึงสามารถควบคุมช่องสัญญาณได้มากถึง 64 ช่อง ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นสูงสุดของอุตสาหกรรม ทั้งยังสามารถรองรับแบนด์วิธคลื่นความถี่ได้สูงถึง 200 เมกะเฮิร์ตซ์ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการใช้งานเครือข่ายในอนาคต
ชิพดังกล่าวยังทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างมากมายในส่วนของชุดเสาอากาศแบบแอคทีฟ ด้วยขนาดที่เล็กลง 50% มีน้ำหนักเบาขึ้น 23% และชุดสถานีฐานกินไฟน้อยลง 21% สถานีฐาน 5G รุ่นนี้ใช้เวลาในการติดตั้งใช้งานน้อยกว่าสถานีฐาน 4G ถึงครึ่งหนึ่ง คุณสมบัติดังกล่าวจึงช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ช่วยลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของและการติดตั้งใช้งานเครือข่าย
โซลูชั่น 5G ที่ใช้งานง่าย เพื่อการติดตั้งใช้งาน 5G ที่รวดเร็ว ครอบคลุมทั่วโลก
หัวเว่ยได้เริ่มเปิดใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์เมื่อปี 2561 และเป็นผู้นำในการแนะนำผลิตภัณฑ์ 5G เชิงพาณิชย์แบบครบวงจรออกใช้งาน รวมถึงการทดสอบภาคสนามและรับรองความถูกต้องของเทคโนโลยี 5G และการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ณ สิ้นปี 2561 หัวเว่ยได้ดำเนินการทดสอบและรับรองความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ 5G ก่อนนำออกใช้งานเชิงพาณิชย์ในประเทศจีนเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ และพร้อมสำหรับการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์แล้ว
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 สถานีฐาน 5G ของหัวเว่ยได้รับรางวัลความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับเฟิร์สคลาส (First Class Progress in Science and Technology Prize) สำหรับความพยายามทุ่มเทจนนำไปสู่การค้นพบครั้งสำคัญทางด้านเทคโนโลยีและการออกแบบโมดูลแบบครบวงจร ชุดสถานีฐานทั้งหมดใช้เบลดฟอร์มแฟคเตอร์ (Blade Form Factor) และสามารถประกอบรวมโมดูลต่างๆ เข้าด้วยกันตามต้องการ ทำให้การติดตั้งสถานีฐาน 5G มีความสะดวกง่ายดายเช่นเดียวกับการประกอบบล็อคตัวต่อ
“ผลิตภัณฑ์ 5G แบบครบวงจรและรองรับการใช้งานทุกรูปแบบของหัวเว่ยนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับประสบการณ์การใช้งาน 5G ได้ถึงขีดสุด” มร. หยาง เฉาบิน ประธานบริหาร ฝ่ายผลิตภัณฑ์เครือข่าย 5G ของหัวเว่ยกล่าว “ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการติดตั้งใช้งานเครือข่าย รวมถึงการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาได้เป็นอย่างมาก ทำให้การติดตั้งใช้งานเครือข่าย 5G ง่ายดายกว่า 4G”
ปัญญาประดิษฐ์สำหรับเครือข่ายเพื่อการขับขี่อัตโนมัติ
ในวันเดียวกัน หัวเว่ยยังได้เปิดตัวสวิตซ์ดาต้าเซ็นเตอร์ตัวแรกของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยมันสมองของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สวิตซ์ดาต้าเซ็นเตอร์นี้เปี่ยมด้วยความสามารถระดับชั้นนำในอุตสาหกรรม ทำให้ค่าแพ็คเก็ตลอส (Packet loss) ของอีเธอร์เน็ตลดลงเหลือศูนย์และค่าความหน่วงทั้งวงจรน้อยกว่า 10 มิลลิวินาที ใช้พลังงานไม่ถึง 8 วัตต์ ในขณะที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลเหนือกว่าซีพียูเซิร์ฟเวอร์แบบทู-เวย์ 25 เครื่องรวมกัน
หัวเว่ยยังได้แนะนำเทคโนโลยี AI แบบครบทุกระดับ (Full-stack AI) ที่ครอบคลุมการใช้งานหลากหลายด้าน สำหรับใช้ในเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ และยังได้พัฒนาโซลูชั่น SoftCOM AI เพื่อช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมศักยภาพของเครือข่าย รวมถึงการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา ตลอดจนยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้
นอกจากนี้ มร. ริชาร์ด หยู คณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจคอนซูมเมอร์ ของหัวเว่ย ยังได้ประกาศเปิดตัวชิพ 5G แบบมัลติโหมดที่เร็วที่สุดในโลกสำหรับดีไวซ์และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย
งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2019 จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ ที่เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ภายในงาน หัวเว่ยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นต่างๆ ที่บูธ 1H50 Fira Gran Via ฮอลล์ 1 บูธ 3I30 ฮอลล์ 3 โซน Innovation City ฮอลล์ 4 บูธ 7C21 และ 7C31 ฮอลล์ 7 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.huawei.com/mwc2019/