คลังเก็บ

HUAWEI เดินหน้าสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หวังสร้างความโปร่งใสด้านข้อมูลแก่องค์กรทั่วโลก 

หัวเว่ย (HUAWEI) ประกาศกลยุทธ์เป้าหมายมุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ ผ่านศูนย์เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และความโปร่งใสในด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวระดับโลก (Global Cyber Security and Privacy Protection Transparency Center) ที่ใหญ่ที่สุด ณ เมืองตงกวน ประเทศจีน เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใสในด้านข้อมูลความเป็นส่วนตัวให้แก่องค์กรทั่วโลก

  • ศูนย์ตงกวนแคมปัส (Dongguan Campus) ซึ่งในอยู่ หัวเว่ย ยูโรเปียน ทาวน์ (HUAWEI European Town) ตั้งอยู่ในเมืองต่งกวน สาธารณะประชาชนจีน ซึ่งสร้างเสร็จในปี 2021 (2562) ที่ผ่านมา โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดรวม 10,000 ล้านหยวน ซึ่งประกอบไปด้วย ศูนย์นิทรรศการ และศูนย์ตรวจสอบ และบริการลูกค้า เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนา รวมไปถึงการสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือ และพันธมิตรในระดับโลก
  • ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 25,000 คน จากพนักงานที่อยู่ทั่วโลกกว่า 20,0000 คน โดยกว่า 25% ของพนักงาน เป็นพนักงานในส่วนของการวิจัย และพัฒนา (Research & Development หรือ R&D) และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นได้มากกว่า 140,000 ผลงาน จนถึงปัจจุบัน และมีพนักงานที่ทำงานในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ กว่า 3,800 คน ประจำอยู่ และมี “แฮกเกอร์สายหมวกขาว” (White Hackers) จำนวน 200-300 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ก่อนนำออกไปวางจำหน่าย และใช้งาน

HUAWEI ประกาศเดินหน้าขับเคลื่อนเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่านศูนย์ Dongguan Campus หวังสร้างความโปร่งใสในด้านข้อมูลให้แก่องค์กรทั่วโลก

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด. (HUAWEI Technology Co., Ltd.) ได้เผยถึงความตั้งใจการสานต่อเป้าหมายของกลยุทธ์อัจฉริยะครบวงจร (All Intelligence) ที่ต้องการนำเทคโนโลยีอัจริยะและเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าไปยกระดับให้ทุกอุตสาหกรรมได้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสเชิงกลยุทธ์ใหม่ ๆ

โดยเฉพาะในส่วนของประเด็นเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่วันนี้จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในองค์กรต่าง ๆ มากขึ้น สิ่งเหล่านี้แม้ว่าจะมีประโบชน์ต่อการขับเคลื่อนองค์กร แต่ในอีกแง่มุมก็หมายถึงการเปิดโอกาสให้เกิดภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์

และเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม ได้อย่างมหาศาล ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ขาดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้นเพื่อตอบสนองกับสถาการณ์ที่เกิดขึ้น

HUAWEI European Town : Dongguan Campus

HUAWEI

หัวเว่ย จึงได้เปิดศูนย์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใสในด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวระดับโลก (Global Cyber Security and Privacy Protection Transparency Center) ซึ่งศูนย์ที่ใหญ่ที่สุดด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความมั่นใจด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

เพื่อวางรากฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการปกป้องข้อมูลร่วมกัน เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ และหน่วยงานต่าง ๆ ในการรับมือกับภัยคุกคามในอนาคต โดยมุ่งเน้น การส่งเสริมความโปร่งใสทั่วโลก (Global Transparency) พร้อมให้ความร่วมมือผ่านทางศูนย์เพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

และความโปร่งใสในด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัว (Cybersecurity and Privacy Protection Transparency Center) หรือ ศูนย์ตงกวนแคมปัส (Dongguan Campus) ซึ่งในอยู่ หัวเว่ย ยูโรเปียน ทาวน์ (HUAWEI European Town) ตั้งอยู่ในเมืองต่งกวน สาธารณะประชาชนจีน ซึ่งสร้างเสร็จในปี 2021 (2562) ที่ผ่านมา โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดรวม 10,000 ล้านหยวน

โดยศูนย์ฯ ดังกล่าวก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นแพลตฟอร์ม เพื่อแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ร่วมกันสำหรับผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ของอุตสาหกรรม รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานงาน การติดต่อสื่อสาร และการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อแนะนำช่วยเหลือในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ให้สามารถพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความมั่นคงปลอดภัย

และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงยังศูนย์ในการจัดทำมาตรการควบคุมความเสี่ยงให้มีการรับรองได้ว่าจะสามารถ ปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดได้ครบถ้วนทั้งข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงระบบ และเครือข่ายจะต้องได้รับการปกป้อง ดังนั้นหัวใจของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

และการปกป้องข้อมูลความเป็นส่วนตัว จึงเป็นกระบวนการบริหารจัดการรายละเอียดให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ดี และแนวทางด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับสากลนั่นเอง โดย ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ย ได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 1,500 เครือข่าย และสนับสนุนองค์กรธุรกิจหลายล้านรายในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล

ขณะเดียวกัน หัวเว่ย ยังช่วยให้ผู้คนกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก ได้เชื่อมต่อถึงกัน โดยที่สามารถรักษามาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยได้ดีมาโดยตลอด ขณะที่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคงปลอดภัย และการปกป้องความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจในยุคดิจิทัลแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน

โดยศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใสแห่ง ของ หัวเว่ย นี้ ในปัจจุบันมีพนักงานกว่า 25,000 คน จากพนักงานที่อยู่ทั่วโลกกว่า 20,0000 คน โดยกว่า 25% ของพนักงาน เป็นพนักงานในส่วนของการวิจัยและพัฒนา (Research & Development หรือ R&D) เพื่่อพัฒนาเทคโนโลยี เช่น คลาวด์, บิ๊กดาต้า, เอไอ (AI) และ 5G ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ หัวเว่ย ยูโรเปียน ทาวน์ นี้เพื่อวิจัย และพัฒนาโซลูชั่น และผลิตภัณฑ์ของ หัวเว่ย ในทุกกลุ่ม

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการวิจัย และพัฒนาสามารถพัฒนาผลิตภัฑ์ และโซลูชั่นได้มากกว่า 140,000 ผลงาน นอกจากนี้ภายในศูนย์นี้ยังมีพนักงานที่ทำงานในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ กว่า 3,800 คน ประจำอยู่ภายใน ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใส นี้

นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังเดินหน้าส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย พัฒนากลไกการตรวจสอบ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วทั้งอุตสาหกรรม ผ่านความร่วมมือกับองค์กรอุตสาหกรรม เช่น GSMA, C4C WEF

และองค์กรมาตรฐาน เช่น 3GPP, IETF, ITU-T เพื่อส่งเสริม และพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย และกลไกการตรวจสอบ ทำงานร่วมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ร่วมกับองค์กรตรวจสอบความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสหภาพยุโรป (ENISA, BEREC ฯลฯ) อีกด้วย

โดยตลอด 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ย ได้ให้บริการผู้คนมากกว่าสามพันล้านคนทั่วโลก โดยสนับสนุนการดำเนินงานที่มั่นคงของเครือข่ายผู้ให้บริการมากกว่า 1,500 เครือข่าย ในกว่า 170 ประเทศ และทั่วภูมิภาค ซึ่งปัจจุบัน หัวเว่ย ยังคงรักษาประวัติที่มั่นคงในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแล ผู้ให้บริการ และองค์กรมาตรฐานในลักษณะที่เปิดกว้างและโปร่งใส เพื่อสร้างระบบความไว้วางใจโดยอิงตามข้อเท็จจริงที่เป็นกลางและการตรวจสอบยืนยัน นี่คือรากฐานสำคัญของสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

ศูนย์ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของ หัวเว่ย

สุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารระดับสูงฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเป็นส่วนตัว บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ แรนซัมแวร์ การโจมตีแบบปฏิเสธการให้บริการ หรือ ดีดอส (DDoS)

ซึ่งพบว่ามีการโจมตีเพิ่มขึ้น 203% เมื่อเทียบกับช่วงหกเดือนแรกของปี พ.ศ. 2564 ขณะที่ในส่วนของแอปพลิชันที่แอบฝัง มัลแวร์ (Malware) ฟิชชิ่ง (phishing) ปัจจุบัยังคงพบการโจมตีช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ การโจมตีช่องโหว่ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง อย่างต่อเนื่อง ด้านภัยคุกคามจากการโจมตีโดย แรนซัมแวร์ (Ransomware)

ซึ่งปัจจุบันพบการโจมตีจากแรนซัมแวร์ 236 ล้านครั้ง ใน 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2565 ขึ้นแท่นภัยไซเบอร์อันดับ 1 โดยคิดเป็น 23% ของการโจมตีโจมตีทางไซเบอร์ทั้งหมด และกว่า 50% เป็นการโจมตีในระดับองค์กรองค์กร ซึ่งในอนาคตคาดว่าการโจมตีทาไซเบอร์จะเพิ่มกว่าเดิมถึง 5 เท่า จากในปัจจุบัน

ในขณะที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่เข้ามาได้ แต่ AI ก็สามารถนำมาใช้อย่างชาญฉลาด เพื่อเริ่มต้นการโจมตีเครือข่ายประเภทใหม่ที่ซับซ้อนมากขึ้น และปัจจุบันยังพบแนวโน้มการโจมตีผ่านอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น 

สำหรับการโจมตีเทคโนโลยี บล็อกเชน (Blockchain) วันนี้ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าทิศทางความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เปิดใช้งานบล็อกเชนจะเป็นอย่างไร แต่จะเชื่อไม่เหมือนเดิมอย่างแน่นอน ขณะที่การใช้งาน 5G ที่เพิ่มขึ้นจะสร้างความท้าทายใหม่ด้านความปลอดภัย และการปกป้องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ดังนั้น ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใส ของ หัวเว่ย จึงมีเป้าหมาย เพื่อป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์เหล่านี้ ควบคู่ไปกับการกำจัดข้อสงสัยด้านความมั่นคงปลอดภัย และยกระดับความไว้วางใจในแบรนด์หัวเว่ยในระดับโลก ที่ หัวเว่ย เราเชื่อ ว่าความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์คือความท้าทายที่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์นี้เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนา รวมไปถึงการสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือ และพันธมิตรในระดับโลก คือความตั้งใจของเราที่จะขยายความร่วมมือกับลูกค้า คู่ค้า และองค์กรต่าง ๆ ทั้งทางภาครัฐ และเอกชน เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไปทั่วโลก

โดยศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใสแห่งนี้ ประกอบด้วย ศูนย์นิทรรศการ และศูนย์ตรวจสอบ และบริการลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถนำอุปกรณ์ของตัวเองจากที่บริษัทมาตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ของ หัวเว่ย ก่อนตัดสินใจซื้อได้

ศูนย์ฯ ดังกล่าว ยังเป็นที่ตั้งของ “ห้องปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอิสระ“ ซึ่งมี “แฮกเกอร์สายหมวกขาว“ (White Hackers) จำนวน 200–300 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ก่อนนำออกไปวางจำหน่าย และใช้งาน

นอกจากนี้ในบริเวณเดียวกัน ยังมีศูนย์วิจัยพัฒนา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “หมู่บ้านเขาวัว“ (Ox Horn Village) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 120 เฮกตาร์ หรือ 300 เอเคอร์ พื้นที่ทั้งหมดของตัวอาคารก่อสร้างคือ 1.45 ล้านตารางเมตรประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 12 กลุ่ม กระจายอยู่ทั่วทั้ง 4 โซน ซึ่งสร้างขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจจากแบบ

สถาปัตยกรรมชั้นนำในยุโรป มาสร้างเป็นสถาปัตยกรรมในโซนพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ลักเซมเบิร์ก, เวโรนา, ปารีส, กรานาดา, โบโลญญ่า, เชสกี้ ครุมลอฟ, ฟรีบูรก์, เบอร์กันดี, ไฮเดลแบร์ก, บรูกส์, วินเดอร์เมียร์ และ ออกซฟอร์ด

อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟ 13 สถานี เพื่ออำนวยความสะดวกในหารสัญจรให้แก่พนักงานของ หัวเว่ย ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่น ซึ่งใช้เวลาสร้างกว่ากว่า 3 ปี และได้คำนึงถึงสร้างอาคารต่าง ๆ ที่แสดงถึงวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรม ให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม สร้างความรู้สึกผ่อนคลายจากการทํางานให้แก่พนักงานของเรา

และนอกจาก ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใส ซึ่งอยู่ที่ เมืองต่งกวน ประเทศจีน ซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่ที่สามารถคอบคลุมการดูแลภยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วทั้งภูมิภาคเอเซิยนี้แล้ว หัวเว่ย ยังมี ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใสศูนย์ใหญ่อีกแห่งในฝั่งภูมิภาคยุโรป ที่ชื่อว่า “HUAWEI Brussels Transparency Center“

โดยมีพื้นที่โดยรวม 1,000 ตารางเมตร กระจายอยู่บน 2 ชั้น ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2019 โดยอยู่ที่ นครบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อให้ลูกค้าสะดวกในการเดินทาง โดยศูนย์ที่เบลเยียมก็มีแพลตฟอร์มการตรวจสอบ และประเมินผลทางเทคนิคเช่นเดียวกับที่ เมืองต่งกวน สาธารณะประชาชนจีน

โดยนอกจากทั้ง 2 ศูนย์ใหญ่ ที่กล่าวไป หัวเว่ย ยังมี ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และความโปร่งใสที่กระจายตัวอยู่ในเมืองต่าง ๆ อีกกว่า 5 แห่ง (อังกฤษ, เยอรมัน, อิตาลี, แคนนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหากันได้ เพื่อรวมเทคนิคในการต่อต้านภัยคุกคาม และอุดช่องโหว่ได้ดีขึ้น

หัวเว่ย พร้อมนำความเชี่ยวชาญส่งตรงจากประเทศจีนสนับสนุนพันธมิตรทั่วโลก ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร

หัวเว่ย พร้อมนำความเชี่ยวชาญส่งตรงจากประเทศจีนมาสนับสนุนพันธมิตรทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย หัวเว่ย ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อจัดการแข่งขันด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทย

โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรทางด้านดิจิทัล และลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านดิจิทัลในประเทศไทย จากกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยมีจำนวนบุคลากรทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นถึง 10,000 คน นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2565

ซึ่งนับเป็นการขับเคลื่อนจำนวนบุคลากรทางด้านดิจิทัลให้กับประเทศไทย และยังช่วยผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายในการขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ยทุกชิ้นที่นำเข้ามายังประเทศไทยมีการดำเนินการสอดคล้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) และทุกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัวเป็นความท้าทายที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม องค์การกำหนดมาตรฐาน องค์กรธุรกิจ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีและผู้บริโภค มีความรับผิดชอบที่จะต้องเผชิญร่วมกัน หัวเว่ย ยึดมั่นในค่านิยมของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ประกอบไปด้วย ความซื่อสัตย์ ความไว้วางใจ ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความเปิดกว้าง และความโปร่งใส บริษัทฯ พร้อมเสมอที่จะพูดคุย

และให้ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมไปถึงการแก้ปัญหาความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และข้อมูลส่วนบุคคล อีกด้วย

เทคโนโลยีเป็นแค่ส่วนเสริมที่สำคัญคือ “คน“

อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ในข้างต้น ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางที่มีทักษะด้านดิจิทัล ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งลงมืออย่างเร่งด่วน เพราะไม่ว่าจะมีการคิดค้นเทคโนโลยี หรือโซลูชั่นที่ทันสมัย และมีความอัจริยะออกมาแต่ไหน แต่หน่วยงานต่าง ๆ ไม่มีคน หรือบุคลากรที่มีทักษะเพียงพอที่จะใช้ก็ไม่มีประโยชน์ 

ในปัจจุบันนั้นภัยคุกคามจากการโจมตีทางไซเบอร์จะมุ่งเน้นในยังองค์กรที่มี “ข้อมูล“ (Data) สำคัญจำนวนมาก เช่น ธนาคาร, โรงพยาบาล, ปั้มน้ำมัน ฯลฯ โดยเหล่าแฮกเกอร์จะมุ่งในการทำให้ระบบล่ม หรือล็อคไม่ใช้สามารถใช้งานจนกว่าจะจ่ายค่าไถ่ ซึ่งเมื่อการโจมตีเกิดขึ้นแล้วแทบจะไม่เหลือทางเลือกในการนำข้อมูลนั้นกลับมา

ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องจ่ายค่าไถ่ให้เหล่าแฮกเกอร์ และหากไม่มีการตัดระบบออกอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสสูงที่ มัลแวร์ (Malware) หรือ แรนซัมแวร์ (Ransomware) จะแพร่กระจายไปยังส่วนงานอื่น ๆ ได้ โดยข้อมูลจากรายงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของโลก (Global Cybersecurity Index : GCI)

“จาก International Telecommunication Union. หรือ ITU ในปี 2020 ที่เผยข้อมูลดัชนีชี้วัดระดับของความพร้อมในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบุว่าประเทศไทยมีระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อยู่ที่อันดับที่ 44 ของโลก จาก 182 ประเทศทั่วโลก

และหากวัดแค่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 ซึ่งการมีบุคลากรที่มีทักษะทางดิจิทัล หรือทักษะทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะชี้วัดว่าประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหน ดังนั้น กระบวนการพัฒนาคนจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดที่จะทำให้เทคโนโลยีนั้นสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ซึ่งดูเหมือนว่าประเทศไทยจะมีอันดับที่ไม่ได้แน่เทา่ไร แต่ในการสำรวจเองก็พบว่าประเทศไทยเองยังได้คะแนนในส่วนของกฏหมายที่บังคบใช้ในด้านการปกป้องขํอมูลส่วนบุคคลอยู่ ซึ่งในวันนี้ประเทศไทยได้มีกฏหมายออกมาแล้ว แต่ที่ยังขาดอยู่คือบุคลากรที่มีทัษะทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งหากทำได้ก็จะสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือได้

อีกทั้งยังเป็นการปฏิรูปธุรกิจให้สอดรับกับนโยบาย พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) และ กฎหมายกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (General Data Protection Regulation : GDPR) ซึ่งมีผลอย่างมากสำหรับธุรกิจที่มีการให้บริการในยุโรป

ในขณะเดียวกันการใช้ 5G ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ธุรกิจต้องหันมาพัฒนาแอป หรือแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับช่องทางการเข้าใจงานของผู้บริโภคในปัจจุบันก็สร้างให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งในปัจจุบันหลายองค์กรยังไม่สามารถพัฒนาบุคลากรของตนเองให้เข้าใจในการป้องกันภัยไซเบอร์ได้

เรียกได้ว่าเร่งเครื่องในการสร้างแอป หรือแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ให้รองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ไม่สามาถอุกช่องโหว่ และป้องกันได้ทันกับภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ ๆ ได้นั่นเอง ซึ่งในส่วนของการเดินหน้าพัฒนาบุคลากรในไทยเอง และเพื่อให้เป็นไปตามความตั้งใจที่ หัวเว่ย ต้องการมุ่งไป

หัวเว่ย จึงได้ลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยร่วมกันยกระดับองค์ความรู้ทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และจัดโครงการฝึกอบรม การแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent หรือ Women : Thailand Cyber Top Talent ขึ้น

เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และผลักดันกลุ่มบุคลากรไอซีทีในทุกเพศในประเทศไทย ซึ่งในปี 2465 ที่ผ่านมาโครงการทั้งหมดที่ร่วมกับ สกมช. สามารถสร้างบุคลากรที่มีความรู้ทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 คน ซึ่งเยอะกว่าที่ตั้งเป้าเอาไว้ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี 

ขณะที่ในภาคธุรกิจวันนี้ต้องปรับความคิดใหม่อย่ามองเรื่องของการลงทุนทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ ราคา ถูก หรือ แพง ผู้บริการขององค์กรต้องให้ความสำคัญทั้งในด้านของเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันภัยคุกคาม และต้องสร้าง ความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม (Culture Shock) ทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ให้แก่ทั้งองค์กรของตน

ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีความปลอดภัยมากที่สุดเท่าทีจะเท่าได้ อีกทั้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีตำแหน่งผู้ให้บริหารทางด้ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่จะเป็นกลไกในการวางกรอบนโยบายขององค์กร ตำแหน่งนี้ไม่ใช้เรื่องของแผนกไอทีขององค์กรแต่ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นอย่างดี ว่าจะพัฒนาคนของตัวเอง หรือใช้เทคโนโลยีอะไร