คลังเก็บ

หัวเว่ย คลาวด์ เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงของประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูง เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

หัวเว่ย คลาวด์ ผู้นำระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการคลาวด์ เตรียมพลิกโฉมอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงของประเทศไทย ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานที่ล้ำสมัย เพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลของผู้ประกอบการสื่อ

HUAWEI CLoud

ความมุ่งมั่นในการสนับสนุนอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง ได้ถูกถ่ายทอดต่อแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนชั้นนำกว่าร้อยคน ในงาน Huawei Cloud Media & Entertainment Forum 2024 ซึ่งจัดขึ้นโดยหัวเว่ยที่ กรุงเทพฯ วันนี้

วิกเตอร์ ลั่ว ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชัน หัวเว่ย คลาวด์ ประเทศไทย กล่าวในงานฟอรั่ม โดยเน้นย้ำถึงความท้าทายที่ผู้ประกอบการสื่อต้องเผชิญในการยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ชม ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเนื้อหา และนำนวัตกรรมมาพัฒนาแนวทางการส่งมอบเนื้อหาในยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI

“หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงไทย โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูงและโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน” นายวิกเตอร์ กล่าว “เทคโนโลยีคลาวด์กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและช่วยกระจายเนื้อหาได้อย่างมีนัยสำคัญ” 

หัวเว่ย คลาวด์ ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้โดยการนำเสนอ MetaStudio แพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟขั้นสูงที่ออกแบบมาสำหรับการผลิตเนื้อหาดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบครบวงจรนี้ช่วยให้สามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์และผสานรวมกับ AI ได้อย่างราบรื่น โดยเนื้อหาที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Generated Content: AIGC) ช่วยเปิดโอกาสใหม่ในด้านความบันเทิง อีคอมเมิร์ซ และการถ่ายทอดสด

“การเปิดตัว MetaStudio ถือเป็นก้าวสำคัญในวงการสื่อของประเทศไทย” กล่าวโดย เทย์เลอร์ หลู, รองประธานฝ่ายบริการสื่อของหัวเว่ย คลาวด์ “ด้วยโซลูชันคลาวด์ของเรา ผู้ประกอบการสื่อสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเนื้อหา สร้างสื่อดิจิทัลคุณภาพสูง และมีส่วนร่วมกับผู้ชมได้แบบเรียลไทม์ เรามุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรม และส่งเสริมระบบนิเวศสื่อดิจิทัลที่มีความหลากหลายอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย”

ประโยชน์หลักของ MetaStudio ของหัวเว่ย คลาวด์ สำหรับอุตสาหกรรมสื่อ ประกอบด้วย:

  • MetaStudioเป็นสายการผลิตเนื้อหาดิจิทัลแบบครบวงจรที่ผู้ใช้สามารถผลิตและเรนเดอร์เนื้อหาดิจิทัล สร้างมนุษย์เสมือน (virtual human) เนื้อหา 3 มิติ และวิดีโอผ่านเทคโนโลยี AI การฝึกอบรมในภาษาแม่ของผู้ใช้ ใช้เวลาเพียงครั้งเดียว และมนุษย์เสมือนสามารถพูดได้มากกว่า 20 ภาษา โดยมีความแม่นยำในการลิปซิงค์ (lip sync) มากกว่า 95%
  • เครือข่ายสื่อเชิงโต้ตอบของหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud’s interactive media network)ถูกสร้างขึ้นจาก 2,800 CDN (content delivery network) edge nodes หรือโหนดเครือข่ายขนาดใหญ่ของเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ซึ่งเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บสำหรับแอปพลิเคชันที่มีข้อมูลจำนวนมาก โดยมีแบนด์วิดธ์มากกว่า 180 Tbit/s ทำให้การถ่ายทอดสดจากต้นจนจบ (end-to-end) มีความหน่วงต่ำกว่า 500 มิลลิวินาที ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกันได้ในระหว่างถ่ายทอดสด อีคอมเมิร์ซ และเกมออนไลน์แบบเรียลไทม์ ขณะที่ AI MPC (Media Processing Center) จะทำการเข้ารหัสและถอดรหัสอย่างอัจฉริยะ ช่วยลดอัตราบิตลง 30% ในภาพ HD ช่วยประหยัดพื้นที่จัดเก็บและค่าใช้จ่ายแบนด์วิดธ์ CDN รวมถึงปรับปรุงรายละเอียดของภาพ

รายงาน Global Media & Entertainment Outlook 2024-2028 ของ PwC คาดว่า อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงในประเทศไทยจะเติบโตขึ้น 4% ในด้านรายได้ในปีนี้ ถึงแม้จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาโครงสร้าง และผลกระทบจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อการดำเนินธุรกิจ

เพื่อสนับสนุนตลาดท้องถิ่น หัวเว่ย คลาวด์ได้จัดเตรียมบริการและโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับให้เข้ากับประเทศไทย รวมถึงศูนย์ข้อมูลในประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าการสร้างและกระจายเนื้อหามีความรวดเร็วและเป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ

จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ (Gartner) หัวเว่ยครองอันดับ 3 ในแง่ของรายได้ ในตลาดโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ของประเทศไทย นอกจากนี้ รายงานของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (Frost & Sullivan) ระบุว่าหัวเว่ย คลาวด์ครองอันดับ 1 ในตลาดไฮบริดคลาวด์ของประเทศอีกด้วย

นับตั้งแต่เปิดตัวในประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561 หัวเว่ย คลาวด์ได้แนะนำบริการคลาวด์มากกว่า 100 รายการ สร้างความร่วมมือกับธุรกิจท้องถิ่นกว่า 300 แห่ง และสนับสนุนลูกค้าหลายพันราย โดยมีโซนการให้บริการ (AZs) 3 แห่งในประเทศไทย หัวเว่ย คลาวด์ยังรองรับตัวเลือกการชำระเงินในประเทศและข้อกำหนดการปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย ศูนย์นวัตกรรม OpenLab ของบริษัทส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาดในประเทศไทย

หัวเว่ย คลาวด์ กำลังเร่งการเติบโตทางดิจิทัลด้วยโครงการ GoCloud โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

นายวิกเตอร์ เน้นย้ำถึงพันธกิจของหัวเว่ย คลาวด์ “เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย” ซึ่งมีเป้าหมายที่จะยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และส่งเสริมโอกาสการเติบโตใหม่ในอุตสาหกรรมสื่อของประเทศไทย

หัวเว่ย คลาวด์ ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะของบุคลากรดิจิทัลของประเทศไทย ผ่านทาง ASEAN Academy บริษัทได้ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญชาวไทยแล้วกว่า 96,000 คน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับคนรุ่นใหม่ในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์และขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของประเทศ