คลังเก็บ

ระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก หลายๆ ประเทศลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พร้อมทั้งวางแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ

ประเทศเหล่านั้นเข้าใจดีว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งและระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่มั่นคง คือตัวแปรสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศก้าวผ่านความซับซ้อนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและยกระดับศักยภาพทางการแข่งขันให้กับประเทศชาติ

ปัจจุบัน ภูมิภาคอาเซียนยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลภายในภูมิภาคนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ด้วยจุดเด่นด้านยุทธศาสตร์เพื่อเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทย จึงเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับภูมิภาค ทั้งยังเป็นมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลไทยได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะเวลา 20 ปี หรือ ‘ประเทศไทย 4.0’ 

โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจมูลค่าสูง ผลักดันให้ประเทศได้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันโดยรวม โดยรัฐบาลไทยเดินหน้าผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง  เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมและยกระดับประเทศไทยไปสู่การเป็นหนึ่งในประเทศรายได้สูง

เป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย

ในการเดินหน้ายกระดับความเป็นอัจฉริยะให้กับทุกอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนเป้าหมายไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และผลักดันประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณลงทุนปีละหนึ่งหมื่นล้านบาท เพื่อจัดตั้งคลังข้อมูลภาครัฐ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีล้ำสมัย อาทิ Big Data และ AI มาใช้ อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลยังคงมีอุปสรรคที่ทำให้เป็นไปได้ยาก 

เปลี่ยนจากระบบแยกส่วนการทำงาน ไปสู่การใช้งานแบบรวมศูนย์ เพื่อต้นทุนรวมที่ต่ำลง

ประเทศไทยมีคลังข้อมูลภาครัฐกว่า 300 แห่ง ซึ่งมีสถาปัตยกรรมโครงสร้างระบบการจำลองเสมือน (virtualization) ที่แยกส่วนแบบเก่า การใช้งานในแบบกระจัดกระจายกันนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาที่มีข้อมูลบางส่วน สามารถเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่ม หลายฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลเดียวกันได้ (data silos) ส่งผลให้การใช้งานทรัพยากรได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันการใช้งานและการบำรุงรักษาคลังข้อมูลจำนวนมากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายสูงตามมา รัฐบาลจึงมองหาแนวทางในการจัดตั้งระบบคลาวด์กลางของภาครัฐเพื่อรวบศูนย์การใช้งานคลังข้อมูลเหล่านี้ และเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเดิมที่มีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บอกลาระบบ Virtualization แบบเก่า พร้อมอ้าแขนรับระบบคลาวด์

รัฐบาลไทยจึงมองหาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ระบบการขนส่งอัจฉริยะ และอุตสาหกรรม 4.0  ระบบการจำลองเสมือน (virtualization) ของคลังข้อมูลแบบดั้งเดิมไม่สามารถรองรับความต้องการเหล่านี้ได้ทัน รัฐบาลไม่ได้ต้องการแค่เพียงย้ายทรัพยากรไปสู่ระบบคลาวด์ แต่กำลังมองหาบริการระบบคลาวด์ที่ล้ำสมัยและครบวงจร ที่จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของทรัพยากร มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูล และช่วยผลักดันการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

การสร้างมาตรฐานให้กับอธิปไตยทางดิจิทัล และการมองหาการสนับสนุนด้านการจัดการและบำรุงรักษา

รัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะสร้างอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereignty) ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น มาตรฐานที่เคร่งครัด ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ที่สามารถรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพสูง และการลงทุนมหาศาลด้านการจัดการและซ่อมบำรุง (O&M) ในระยะยาวล้วนเป็นสิ่งจำเป็น แต่ภาครัฐยังคงขาดผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนามาตรฐานและสอดคล้องกับข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อให้คลาวด์มีความมั่นคงและเสถียรภาพสูง หรือมีความเป็นอธิปไตยทางดิจิทัล

รัฐบาลจึงต้องการผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนาน สามารถกำหนดและนำมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนามาอย่างสมบูรณ์มาใช้ได้งานได้ทันที และที่สำคัญ สามารถให้ความสนับสนุนด้านการจัดการและซ่อมบำรุงได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งอธิปไตยทางดิจิทัลได้ตามเป้าหมาย

การใช้งานคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน     

ระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (national government cloud) มีข้อกำหนดที่เคร่งครัดทั้งในด้านความมั่นคง การปฏิบัติตามมาตรการข้อบังคับทางกฎหมาย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ ผลิตภัณฑ์ Huawei Cloud Stack ได้รับเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยสำหรับการวางระบบคลาวด์กลางภาครัฐ โซลูชัน Huawei Cloud Stack ซึ่งถูกนำไปใช้งานในหลายๆ หน่วยงาน

ช่วยให้ลูกค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กร สามารถติดตั้งระบบคลาวด์แบบไฮบริดที่มีประสิทธิภาพสูง มั่นคง และปลอดภัย โดยระบบมีการพัฒนาทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรการที่สอดคล้องกับกฎข้อบังคับทางกฎหมายของประเทศไทย และนวัตกรรมการบริการอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานคลาวด์ในเชิงลึกได้อย่างมั่นใจ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ความเป็นอัจฉริยะได้เร็วยิ่งขึ้น 

  • อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีพื้นที่การให้บริการ (region) ในประเทศไทย และ Huawei Cloud Stack คือโซลูชันคลาวด์แบบไฮบริดแห่งแรกของอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับสมรรถนะโมเดลขนาดใหญ่ได้ Huawei Cloud Stack ยังใช้สถาปัตยกรรมโครงสร้างเดียวกับคลาวด์สาธารณะ (public cloud) ของหัวเว่ย และมีการอัปเกรดฟีเจอร์บริการไปพร้อมๆ กันทั้งสองระบบอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบัน โซลูชัน Huawei Cloud Stack ให้บริการฟีเจอร์คลาวด์ที่สามารถใช้งานได้ทันทีมากกว่า 90 ฟีเจอร์ พร้อมด้วยโซลูชันที่หลากหลายรองรับความต้องการเฉพาะด้านของลูกค้าแต่ละราย ไม่เพียงเท่านั้น Huawei Cloud Stack ยังรองรับสมรรถนะรอบด้านแบบ full-stack ครอบคลุมตั้งแต่ Big Data, AI, โมเดลผานกู่ และบล็อกเชน จึงสามารถรองรับการพัฒนานวัตกรรมการบริการด้านคลาวด์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต    

  • ระบบคลาวด์แบบรวมศูนย์ที่ประกอบด้วยหลายพูล (Pool)

Huawei Cloud Stack ได้รับเลือกนำมาใช้เป็นระบบคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อรองรับแอปพลิเคชันการทำงานของทุกกระทรวงในประเทศไทย โดยมีโซลูชัน ManageOne ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการระบบคลาวด์ของ Huawei Cloud Stack ทำหน้าที่บริหารจัดการ VMware resource pool เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐยังคงสามารถสร้างคุณค่าจากทรัพยากรเหล่านี้ได้ โดยแต่ละหน่วยงานยังคงมี Virtual Data Center (VDC) ของตนเองและสามารถเรียกใช้ทรัพยากรได้ตามต้องการ จึงเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดหาทรัพยากรไอทีให้ดียิ่งขึ้น

  • ลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง

ทีมงานระดับมืออาชีพของ Huawei Cloud Stack พร้อมให้บริการด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง (O&M) รวมไปถึงความช่วยเหลือทางออนไลน์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ข้อมูลด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุงต่าง ๆ จากศูนย์ข้อมูลในท้องถิ่นจะถูกเก็บไว้ภายในประเทศไทย กรณีเกิดปัญหา สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขได้ในแบบเรียลไทม์ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในระบบ สามารถระบุตำแหน่งและดำเนินการแก้ไขได้ภายในไม่กี่นาที

กระบวนการด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุงยังได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการลงได้มากด้วยโซลูชัน Huawei Cloud Stack หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐได้ภายใน 60 วัน ปัจจุบัน หลายหน่วยงานสามารถเข้าถึงบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ได้ภายในไม่กี่นาที

รองรับการใช้งานบริการภาครัฐที่เพิ่มมากขึ้น แพลทฟอร์มระบบคลาวด์กลางภาครัฐรองรับการให้บริการแก่ 20 กระทรวง ครอบคลุมสำนักงานมากกว่า 219 แห่ง และระบบไอทีกว่า 3,065 ระบบ การใช้งานระบบคลังข้อมูลส่วนกลางนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีลงได้ปีละกว่า 850 ล้านบาท ในขณะเดียวกันยังสามารถปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการภาคสาธารณะให้กับหน่วยงานภาครัฐของไทย ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางด้านดิจิทัลแก่คนในประเทศ

การบริการสาธารณะด้านดิจิทัลที่เอื้อประโยชน์ต่อคนไทยมากขึ้น    

กรมการขนส่งทางบกพัฒนาโครงการสถานีขนส่งผู้โดยสารอัจฉริยะ ‘Smart Bus Terminal’ แพลทฟอร์มรถโดยสารอัจฉริยะที่เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วประเทศสามารถเข้าถึงตารางรถโดยสารออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การเดินทางในแต่ละวันง่ายขึ้น ในทำนองเดียวกัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้พัฒนาระบบแผนที่อาชญากรรมแบบหลายมิติ โดยเปลี่ยนจากการออกตรวจพื้นที่มาใช้ระบบสแกน QR Code แทน จึงสามารถรายงานเหตุอาชญากรรมได้ในแบบเรียลไทม์ ระบบใหม่นี้ช่วยให้การสื่อสารระหว่างตำรวจและสาธารณะมีความง่ายขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแพลทฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล (Digital Healthcare Platform) ที่สามารถวิเคราะห์และแสดงผลแนวทางการบริหารจัดการในสถานการณ์โรคระบาด โดยใช้ข้อมูลจากระบบภายในหน่วยงานและจากเครือข่ายสาธารณะ ความร่วมมือกันระหว่างศูนย์การแพทย์เพื่อปรับปรุงทรัพยากรทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นนี้ ช่วยให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถปรับปรุงมาตรการป้องกันและควบคุมโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น 

ในฐานะศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเส้นทางการค้าที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกและตะวันตก สำหรับทิศทางก้าวต่อไปของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 รัฐบาลไทยจะยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ควบคู่ไปกับการผลักดันนวัตกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม สร้างเมืองอัจฉริยะ และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะสร้างความสมดุลให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

หัวเว่ย จะยังคงอยู่เคียงข้างสนับสนุนประเทศไทยในการเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งในด้าน Big Data, AI, โมเดลผ่านกู่ และเทคโนโลยีคลาวด์แบบไฮบริด พร้อมทั้งเดินหน้าให้การสนับสนุนประเทศไทยในการยกระดับระบบนิเวศด้านคลาวด์ พัฒนาโซลูชัน Huawei Cloud Stack เพื่อเป็นแพลทฟอร์มทางด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทย และช่วยเหลือรัฐบาลไทยและบริษัทต่างๆ ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และแอปพลิเคชันการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้านของแต่ละอุตสาหกรรม