คลังเก็บ

ทำความรู้จัก AIS ROBOTIC LAB แล็บหุ่นยนต์ 5G แห่งแรกในไทย!! เร่งพัฒนาหุ่นยนต์ผู้ช่วยหมอ ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ลดเสี่ยงเซฟทีมแพทย์ ทยอยส่งมอบถึงมือ รพ. แล้ว

 

วิกฤติจากไวรัส Covid – 19 ถือว่าเป็น “สาธารณภัย” ที่มีความรุนแรงระดับโลก โดยส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น หากไม่มีการจัดการและป้องกันทีดีพอ ซึ่งอย่างที่เรารู้กันว่าไวรัส Covid – 19 ณ ขณะนี้ยังไม่วัคซีนป้องกัน หรือยาที่รักษาได้หายขาดแบบเบ็ดเสร็จ 100%

ฉะนั้นการป้องกันตนเอง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ  รวมถึงความร่วมมือร่วมใจกันทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อฟันฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มีเป้าหมายในการนำ Digital Infrastructure เข้ามาสนับสนุนทุกภาคส่วนของประเทศ เพื่อพี่น้องประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถแก้ปัญหาโควิด-19 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือคนไทยและประเทศไทยของเราผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า บุคลากรทางการแพทย์ คือหน้าด่านแรกที่ต้องทำงานอย่างหนัก แถมยังมีความเสี่ยงในการต้องเผชิญกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรงกว่าทุกสาขาอาชีพ

ในขณะที่หลายโรงพยาบาลยังประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกัน อย่างเช่น หน้ากากอนามัย, ชุดป้องกันปลอดเชื้อ PPE อันเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์

สิ่งเหล่านี้จึงเป็น Pain Point ที่เอไอเอส ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการที่จะเข้ามามีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระ ลดความเสี่ยงติดเชื้อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานของทีมแพทย์มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงประหยัดงบประมาณในการใช้อุปกรณ์ป้องกันปลอดเชื้อ

จึงเป็นที่มาของทีม AIS ROBOTIC LAB ในการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ที่ทำงานบนเครือข่าย 5G เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับทางการแพทย์และสามารถใช้งานได้จริง

เปิดเส้นทางกว่าจะมาเป็น “AIS ROBOTIC LAB” แล็บพัฒนาหุ่นยนต์ 5G รายแรกรายเดียวในไทย

 

“หุ่นยนต์ 5G ผู้ช่วยคุณหมอ” ตัวแรกของประเทศจากค่ายเอไอเอส เกิดจาก Innovation ภายใต้ทีมงานระดับหัวกะทิด้านดิจิทัล ตลอดจนนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ในการพัฒนาหุ่นยนต์ของเอไอเอส ซึ่งเป็นการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจ AIS ROBOTIC LAB by AIS NEXT โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ที่สามารถทำงานบนเครือข่าย 5G เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับทางการแพทย์ได้ใช้งานจริง

โดยเอไอเอส มีประสบการณ์การทดลองทดสอบ 5G ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เริ่มมีการให้ทดสอบ ทดลองโครงข่าย 5G ในประเทศไทย อาทิเช่น การนำ Use Case 5G ไปให้พี่น้องทุกภาคทั่วไทยได้สัมผัสกับเทคโนโลยี 5G กันอย่างใกล้ชิด

ไม่ว่าจะเป็นการบังคับรถไร้รถขับ 5G Remote Control Vehicle ผ่านการสั่งงานระยะไกลแบบเรียลไทม์ บนเครือข่าย 5G, โชว์สาธิตบังคับโดรน ข้ามภูมิภาค, ทดลองใช้งานโทร VDO Call ข้ามภูมิภาค จากกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ – หาดใหญ่ ผ่านเครือข่าย 5G LIVE Network ด้วยดีไวซ์ที่รองรับ 5G และ Use Case อื่น ๆ อีกมากมาย

สำหรับ AIS ROBOTIC LAB by AIS NEXT ได้ผ่านการทดสอบ ทดลองค้นคว้า รวมถึงความร่วมมือจากพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวข้อง จนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม 5G Robot Platform ที่ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีอันล้ำสมัย ผสานโครงข่าย 5G ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพของเอไอส และเทคโนโลยีทางการแพทย์

จนออกมาเป็น 5G ROBOT FOR CARE หุ่นยนต์ 5G ผู้ช่วยคุณหมอ ที่มีความฉลาด และยังสามารถปรับแต่งเพิ่มความสามารถให้กับตัวหุ่นยนต์ได้อย่างยืดหยุ่น ทำให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานและความเหมาะสมของแต่ละโรงพยาบาลได้อย่างลงตัวอีกด้วย

“ROBOT FOR CARE” ทำอะไรได้บ้าง และทำไมจึงกลายเป็นผู้ช่วยสำคัญ ที่สามารถช่วยเซฟความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์

 

5G ROBOT FOR CARE คือหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ที่มาพร้อมฟีเจอร์อัจฉริยะ ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความหลากหลาย เข้ามาผสมผสานกับเครือข่าย 5G ภายใต้ระบบประมวลผล AIS Robot Platform ซึ่งเอไอเอสพัฒนาขึ้นเอง โดยมีไฮไลท์ที่เป็นเมนหลักดังนี้

  • เทคโนโลยีอินฟราเรด ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยส่งผลข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G ไปให้แพทย์ที่ให้การรักษาได้อย่างทันที
  • เทคโนโลยี 3D Mapping กำหนดแผนที่เส้นทางเดินของหุ่นยนต์ ให้เคลื่อนที่เข้าหาผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และยังสามารถบังคับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ตามต้องการผ่านเครือข่าย 5G
  • Telemedicine ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอล เพื่อให้แพทย์ที่อยู่ด้านนอกห้อง ใช้สมาร์ทดีไวซ์ เชื่อมต่อมาที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อพูดคุยและดูอาการคนไข้ภายในห้องพักได้ ช่วยหลีกเลี่ยงการเข้ามาสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรงได้
  • เทคโนโลยี Cloud computing ในการประมวลผลจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมฟีเจอร์ต่างๆ ในตัวหุ่นยนต์ได้ตามที่แต่ละ รพ. ต้องการ อาทิ ตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือด, ส่งยาให้ผู้ป่วยถึงเตียง, บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือเคลื่อนที่ เป็นต้น

ในอนาคต ทีม AIS ROBOTIC LAB เตรียมพัฒนาขยายขีดความสามารถของหุ่นยนต์ให้สามารถรองรับบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ สั่งหุ่นยนต์ให้ทำงานผ่านทางเสียง, การทำความสะอาดด้วยตัวเอง ผ่าน Ozone และ UV, ด้วยความสามารถจดจำเส้นทาง และจดจำใบหน้าได้

หุ่นยนต์จะสามารถทำภารกิจอื่นๆ ได้ เช่น การตรวจเยี่ยม, นำทางผู้ป่วยไปรักษาในแผนกต่างๆ อีกทั้ง โลกของ IoT และ 5G ที่จะมีการติดต่อกันเองของอุปกรณ์ต่างๆ ข้อมูลจากหุ่นยนต์

และเครื่องมือตรวจวัดที่โรงพยาบาลหรือ Wearable จะนำมาประมวลผลร่วมกัน เช่น เมื่อเกิดความผิดปกติใดๆ ที่ตรวจจับได้จากเครื่องมือวัด หุ่นยนต์ก็สามารถจะมาเยี่ยมถึงเตียงได้โดยทันที เป็นต้น

5G คือหัวใจหลัก ที่ขับเคลื่อน ROBOT FOR CARE ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

หากไม่มีเครือข่ายอันทรงพลังจาก AIS 5G ตัวหุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE ก็จะกลายเป็นเพียงแค่หุ่นยนต์ไฟฟ้าธรรมดา ๆ เท่านั้น เพราะโดยหัวใจหลักในการทำงานของหุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE คือการขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการที่ทำงานร่วมกับเครือข่าย 5G เพื่อใช้ในการประมวลผลในหลาย ๆ ส่วน

อาทิ การวัดค่าอุณหภูมิและ face signature ของผู้ถูกตรวจจะถูกถ่ายพร้อมส่งผ่าน 5G ไปจัดเก็บที่ AIS DATA CENTER, สามารถ video call จากศูนย์ควบคุมมาที่หุ่นยนต์เพื่อให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ แก่ผู้ปฏิบัติการ, สามารถอัพเดทความสามารถใหม่ ๆ ให้กับหุ่นยนต์จากศูนย์ควบคุมได้โดยอัตโนมัติ

ฉะนั้นการนำ ROBOT FOR CARE มาทำงานร่วมกับเครือข่ายความเร็วสูง (High Speed) บนเคือข่าย AIS 5G จึงส่งผลให้มีการตอบสนองที่รวดเร็ว ฉับไว มีความหน่วงต่ำ (Low Latency) อันเป็นจุดเด่นหลักของโครงข่าย 5G

อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่หลากหลาย (IoT Connectivity) ทำให้หุ่นยนต์พร้อมปฏิบัติงานเข้าดูแลผู้ป่วยทันที การรับส่งข้อมูลระหว่างแพทย์กับหุ่นยนต์ก็เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาลได้อย่างดี

ROBOT FOR CARE พร้อมส่งมอบและใช้งานได้จริงแล้วในโรงพยาบาลหลาย ๆ แห่ง 

 

นับเป็นความภาคภูมิใจของทีม AIS ROBOTIC LAB by AIS NEXT เพราะตอนนี้ เอไอเอสได้ส่งมอบหุ่นยนต์ให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, สถาบันบำราศนราดูร และกรมแพทย์ทหารเรือ

โดยหุ่นยนต์ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ณ คลินิกและหอผู้ป่วยโควิด-19 ทำหน้าที่เข้าไปดูแลและตรวจอาการผู้ป่วยภายในห้องพักผู้ป่วย แทนหมอและพยาบาล ช่วยแบ่งเบาภาระ ลดเสี่ยง ลดสัมผัส เซฟแพทย์และพยาบาล โดยขณะนี้ ทีม AIS ROBOTIC LAB เร่งเครื่องพัฒนาหุ่นยนต์ 5G อย่างเต็มกำลัง และมีแผนส่งมอบทั้งหมด จำนวน 23 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 22 แห่ง ภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2563

ROBOT FOR CARE คือการพลิกโฉม พร้อมสร้าง New Normal ให้วงการแพทย์ ด้วยศักยภาพของโครงข่าย AIS 5G

 

ที่ผ่านมาเราอาจจะรู้สึกว่า 5G เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องที่เกียวกับเครือข่ายหรือมือถือเพียงอย่างเดียว แต่ ROBOT FOR CARE ทำให้ 5G กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวและจับต้องได้จริง

ซึ่งถือว่าเป็นการพลิกโฉม และสร้าง New Normal ให้วงการแพทย์ ด้วยศักยภาพของ 5G อันทรงพลัง ผสานกับ Innovation ทีมีการต่อยอดพัฒนา จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายดิจิทัลพื้นฐานสำคัญต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์

จึงถือว่าเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งาน 5G ให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุด ฉะนั้นการนำ 5G เข้ามาช่วยดูแลรักษาชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมแก้ปัญหาพร้อมนำพาประเทศก้าวพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกันอย่างยั่งยืน