คลังเก็บ

ดีแทคชูกลยุทธ์สร้างคุณค่า-เสริมประสบการณ์ลูกค้าและสังคมผ่านเทคโนโลยี

ดีแทคจัดงานทอล์ค ชูบทบาทและวิสัยทัศน์ด้าน “บิ๊กดาต้า – แมชชีนเลิร์นนิ่ง – ปัญญาประดิษฐ์” ต่อภาคธุรกิจและสังคม ผ่าน ผู้เชี่ยวชาญ เผยประสบการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมวงการการตลาด เกษตรกรรมและสาธารณสุข  

โดยงานนี้ มีผู้ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์จากการคลุกคลีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้าง “คุณค่า” ใหม่ให้แก่ภาคธุรกิจและสังคม ราย ได้แก่ นายแอนดริว กวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค นายชวิน ฉัตรสิริวิชัยกุล ผู้จัดการด้านกลยุทธ์ รีคัลท์ นายเคนท์ เองเกอ มอนเซน นักวิจัยอาวุโส เทเลนอร์รีเสิร์ช และนางสาวฉัตรสุดา สันตานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานบริหารคุณค่าลูกค้า ดีแทค โดยมีหัวข้อดังนี้

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Machine Learning สามารถเชื่อมโยงลูกค้ากับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด?

dtac

นายแอนดริว กวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด คนใหม่ของดีแทค กล่าวว่า แนวทางการตลาดในอนาคตจะเป็นในรูปแบบเฉพาะเจาะจงแบบรายบุคคล (Personalization) มากขึ้น ซึ่งต้องพึ่งพาการใช้  Big Data และ Machine Learning อันเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ดีแทคเป็นผู้บุกเบิกในตลาดโทรคมนาคม

ต่อไปลูกค้าจะไม่ต้องค้นหาสิ่งที่เขาต้องการด้วยตัวเอง แต่เราจะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดและตรงกับความต้องการของเขามากที่สุดด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยเหล่านี้ ซึ่งจะสร้างความประหลาดใจ เสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า และนี่คือคอนเซ็ปต์ของ Personalization” นายแอนดริว กล่าว

ซึ่งเบื้องหลังของประสบการณ์ที่ดีนั้นคือ  Machine Learning ที่ใช้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ทำให้ทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร และดีแทคสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า กว่า 80% ของลูกค้าดีแทคได้ดาวน์โหลดแอปดีแทค สร้างรายได้ใจากการบรการดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในปีที่ผ่านมา และนั่นทำให้ประสบการณ์ลูกค้าดีขึ้น เสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการดีแทคในยุคดิจิทัล

วิธีการในการสร้างบริการเฉพาะบุคคลนี้ขึ้น ดีแทคจะต้องประมวลข้อมูลหลายพันล้านชุด ซึ่งจะถูกอัพเดทตลอดเวลา และนั่นทำให้เทคโนโลยีอย่างอัลกอริธึ่มและMachine Learning เข้ามามีบทบาทในการทำความเข้าใจกับข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้แล้วจุดกลุ่มออกมา เพื่อหาลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

 

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกษตรกรรมความแม่นยำ(Precision Farming) สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับเกษตรกร?

 

นายชวิน ฉัตรศิริวิชัยกุล ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ รีคัลท์ สตาร์ตอัพในโครงการ dtac accelerate 5 กล่าวว่า ผลิตผลจากภาคการเกษตรในประเทศไทยยังต่ำกว่ามาตรฐานทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ค่าใช้จ่ายของการเพาะปลูกหมดไปกับปุ๋ยและยาฆ่าแมลง แต่ในทางกลับกันผลผลิตแทบไม่เพิ่มขึ้นเลย ทำให้เกษตรกรเป็นประชากรประสบความยากลำบากจากความยากจน

และนี่จึงเป็นที่มาของ Ricult สตาร์ตอัพที่ก่อตั้งโดย บัณฑิตจากสถาบัน MIT เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ โดยได้นำเอาเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมและการคาดการณ์สภาพอากาศที่แม่นยำมาช่วยเกษตรกร ภายใต้วิสัยทัศน์ “Those who feed us need us”

โดยบริการข้อมูลเชิงเกษตรของ Ricult จะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์แก่เกษตรกรและสามารถนำไปใช้ได้ทันที สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงขึ้น 40% และกำไรเติบโตขึ้นถึง100% ในขณะที่ข้อมูลการคาดการณ์สภาพอากาศทั่วไปมีความละเอียดอยู่ที่ระดับ 50 กิโลเมตร แต่ระบบของ Ricult ครอบคลุมได้ละเอียดถึงระยะ กิโลเมตร และเราได้นำเอาอัลกอริทึมของ Machine Learning เข้ามาช่วยวิเคราะห์แสงสะท้อนจากใบไม้เพื่อประเมินสุขภาพของพืชอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับโครงการ dtac smart farmer และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดในการเข้าถึงกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ โดยหวังว่าแอปพลิเคชันนี้จะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Big Data สามารถช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ?

นายเคนท์ มอนเซน นักวิจัยอาวุโสจากเทเลนอร์รีเสิร์ช ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้ทำรายงานวิจัยเรื่องการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียผ่านข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือในประเทศปากีสถานและไทย กล่าวว่า จากข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้งาน ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์การเดินทางสัญจรของผู้ใช้งานทั่วทั้งประเทศ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการระบาดของไข้มาลาเรีย เพื่อคาดการณ์การระบาดของโรคในครั้งต่อไป ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีขนาดใหญ่มหาศาล ตลอดจนเน้นย้ำถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ถ้าเราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าไข้เลือดออกหรือไข้มาลาเรียจะแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ใด จะช่วยให้สถาบันสุขภาพแห่งชาติสามารถวางมาตรการป้องกันได้อย่างเหมาะสม เช่น เตรียมการแจกจ่ายมุ้งกันยุง จัดเตรียมคลีนิกเคลื่อนที่ เผยแพร่ข้อมูลในการป้องกันโรคระบาด รวมถึงการลงตรวจสอบพื้นที่อย่างใกล้ชิดมากขึ้นนายเคนท์ กล่าว

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมกันริเริ่มโครงการเพื่อคาดการณ์และป้องกันการแพร่ระบาดของไข้มาลาเรียในประเทศไทย โดยอาศัยข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของลูกค้าดีแทค ประกอบเข้ากับข้อมูลผู้ป่วยจากกระทรวงสาธารณสุข

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า AI ช่วยยกระดับการทำงานไปอีกขั้น?

นางสาวฉัตรสุดา สันตานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสสาย  Customer Value Management (CVM) กล่าวว่า เป้าหมายของ CVM คือ การนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ผ่านช่องทางที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่ง Machine Learning ได้เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตลาดแบบตัวต่อตัว (One-to-One Marketing) ให้ดียิ่งขึ้น

Machine Learning เข้ามาช่วยพัฒนาการตรวจสอบการลงทะเบียนของบริการระบบเติมเงิน โดยการใช้ระบบจดจำภาพใบหน้า นอกจากนี้มันยังถูกใช้ในการพัฒนาSocial Listening Tool เพื่อช่วยในการจำแนกประเภทของความคิดเห็นบนสื่อสังคมต่าง ๆ โดยทั้งสองโปรเจ็คมีความแม่นยำสูงกว่า 90%

ซึ่งในการทำแต่ละโปรเจ็คนั้น จะต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร โดยสร้างสมดุลระหว่างการใช้ Hard Skills and Soft Skills เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานยุคดิจิทัลที่มีเปลี่ยนแปลงด้านข้อมูลและเทคโนโลยีตลอดเวลา ซึ่งได้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data scientist) เข้ามาร่วมทีมวิเคราะห์ข้อมูล

เพื่อเสริมแกร่งศักยภาพการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดีแทคยังได้ร่วมมือวิจัยด้าน AI กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อสร้างทรัพยากรด้าน AI รุ่นใหม่กับประเทศ โดยมุ่งเน้นไปยังด้านระบบอัจฉริยะอัตโนมัติ (Intelligent Automation) Machine Learning การเสริมสร้างประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า และการวิเคราะห์ข้อมูล

เกี่ยวกับ dtac Loop

งาน dtac Loop เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เพื่อสานต่อภารกิจ “เชื่อมโยงลูกค้ากับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดและเสริมแกร่งพลังทางสังคม” ตามพันธกิจดีแทค

ทั้งนี้ สามารถส่งคำถามต่าง ๆ ให้กับวิทยากรโดยใช้แฮชแท็ก #dtacloop บน Twitter โดยคำตอบและวิดีโอจากงาน dtac loop จะถูกโพสต์ลงบนเว็บไซต์ dtac.blogเร็วๆ นี้