วันนี้ ดีแทคมีคลื่นครบทุกย่านความถี่ คือ คลื่นย่านความถี่ต่ำ-กลาง-สูง ดีแทคมุ่งพัฒนาทั้ง 4G และ 5G ซึ่งก่อนการประมูลคลื่นดีแทคมีคลื่นความถี่พร้อมในย่านคลื่นความถี่ต่ำและคลื่นความถี่กลาง โดยต้องการคลื่นย่านความถี่สูง (Millimeter Wave หรือ mmWave) มาเสริมทัพชุดคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ 5G สู่อนาคต
- ดีแทคมีคลื่นความถี่ต่ำย่าน 900 MHz จำนวน 2×5 MHz คลื่น 700 MHz จำนวน 2×10 MHz
- คลื่นความถี่กลาง 1800 MHz จำนวน 2×5 MHz คลื่นความถี่ 2100MHz จำนวน 2x15MHz และบริการคลื่น 2300 MHz บนคลื่นทีโอที จำนวน 60 MHz
- สิ่งที่ดีแทคต้องการคือคลื่น 26 GHz ในการนำมาทำ 5G ดังนั้นในการประมูลดีแทคจึงประมูลคลื่นย่านความถี่สูง และประมูลคลื่นมา 200 MHz ซึ่งเพียงพอในการให้บริการใน ecosystem
- สำหรับคลื่น 700 MHz เป็นคลื่นความถี่ต่ำ ดีแทคจะนำมาทำ 5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทยโดยเฉพาะภูมิภาค และเสริมการใช้งานในเมืองโดยเฉพาะย่านอาคารสูง
- ดีแทครุกพัฒนาไม่หยุด ดีแทคมั่นใจทุกอย่างเป็นไปตามแผนงาน เพื่อการทำโครงข่ายที่เพิ่ม coverage และ capacity ในพื้นที่ใช้งานหนาแน่น
ข้อมูลล่าสุดไตรมาส 4 ปี 2562 ดีแทคมีสถานีฐาน 98,000 สถานี รวม 2G, 3G, 4G โดย 4G ขยายไปแล้วถึง 49,000 สถานีรองรับการใช้งานทั่วไทย ดีแทคไม่หยุดขยายสถานีฐาน โดยลูกค้าต้องการใช้งานดาต้าเติบโตขึ้น ดีแทคจึงเร่งที่จะขยายบริการคลื่น 2300 MHz ที่ให้บริการบนคลื่นทีโอที เพิ่มอีก 3400 สถานี รวมเป็นบริการคลื่น 2300 MHz มากกว่า 20,000 สถานีในปลายปีนี้ เพื่อตอบสนองการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เติบโตต่อเนื่อง
ดีแทคให้บริการ 5G แน่นอน บนคลื่น 26 GHz และ คลื่น 700MHz
- บริการ FWA (Fixed Wireless Access) บนคลื่น 26 GHz หรือ บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงประจำที่ ที่ความเร็ว 1Gbps ที่เหมาะกับที่พักอาศัย ชุมชน โดยเฉพาะการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ WiFi ทำให้รองรับอุปกรณ์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ตได้มากกว่า
- บริการ 5G บนคลื่น 700 MHz จะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทย สำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่รองรับคลื่น 700MHz 5G เช่น Samsung Galaxy S20 Ultra 5G, Huawei Mate30 Pro 5G และแบรนด์อื่นๆ ที่กำลังแนะนำสู่ตลาดในประเทศไทย
ดีแทคไม่หยุดพ้ฒนาโครงข่ายให้มอบประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า
- ดีแทคนำ เทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า สำหรับบริการ 4G TDD ด้วยการเพิ่มความสามารถ (Capacity) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้งานรับชมวิดีโอ ความละเอียดสูง แบบ Full HD และการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นและบริเวณตึกสูงอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานข้อมูลในปริมาณมาก และยังมาพร้อมกับ Beamforming ด้วยการส่งสัญญาณแบบเลือกพื้นที่ที่กำหนดได้ตรงจุดเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานได้แม่นยำ การนำ Massive MIMO มาใช้ นับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมไทย เพื่อรองรับการใช้งานยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในอนาคต
- ดีแทคจะเพิ่ม Massive MIMO ทั่วไทยในปีนี้อีกหลายพันจุด เพื่อรองรับการใช้งานดาต้าสำหรับ 4G รวมทั้งเปิดให้บริการ 5G บนคลื่น 26 GHz ในพื้นที่นำร่องช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ไม่หยุดพัฒนาสัญญาณเพื่อลูกค้าทุกคน
คลื่น 3500 MHz เป็นคลื่นหลัก 5G ที่ใช้กันทั่วโลก
- คลื่น 3500 MHz คือ คลื่นหลักของ 5G และพัฒนาระบบนิเวศของบริการ 5G ใช้กันทั่วโลก ซึ่งเป็นทางทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ 5G จากการทดสอบทั่วโลกที่ผ่านมาและความแพร่หลายในอุปกรณ์รองรับการใช้งาน
- ประเทศไทยจะมีแผนจะจัดสรรคลื่นความถี่ 3500 MHz ซึ่งมีขนาด 300 MHz ซึ่งเป็นทางทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ 5G ให้สอดคล้องกับทั่วโลก
- การใช้คลื่นความถี่ 3500 MHz จะทำให้การบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพ จากต้นทุนที่ต่ำกว่าเพราะมีจำนวนผู้ใช้ทั่วโลก ทั้งในด้านอุปกรณ์โครงข่าย (Network) และอุปกรณ์ผู้ใช้ (Device) ขณะที่คลื่นย่านความถี่กลางอื่นๆ หรือ 2600 MHz ที่ไทยนำมาใช้ จะมีผู้ให้บริการเริ่มต้นน้อยกว่าโดยมีการใช้งาน 2 แห่ง คือ China Mobile ที่ประเทศจีน และ Sprint ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา