ดีแทคร่วมงาน “5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน” พร้อมเสนอแนะมุมมองผลักดัน 5G ด้วยรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนสู่กลไกความร่วมมือร่วมกันทุกภาคส่วน รัฐบาล–เอกชน สู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสร้างจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน 5G ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวในงานเสวนา 5Gปลุกไทยที่ 1 อาเซียนว่า “ดีแทคเสนอ 5G ต้องมีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในส่วนการพัฒนาจัดสร้างและใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน 5G รวมไปถึงการพัฒนาไปสู่ธุรกิจการบริการในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาวและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและประเทศไทย”
ภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure Sharing) หรือจัดทำหน่วยงานกลางรับผิดชอบในรูปแบบ Infrastructure Company ซึ่งดีแทคพร้อมที่จะประสานงานและสนับสนุนภาครัฐทุกหน่วยงาน
อุปสรรคอีกข้อทีสำคัญต่อการให้บริการ 5G คือราคาคลื่นความถี่ที่มีราคาสูง แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) รวมถึงแผนการปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ (Spectrum refarming) ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีความชัดเจนว่า แต่ละคลื่นจะสามารถนำมาใช้งานได้เมื่อไหร่ เพราะการเข้าสู่ 5G อุตสาหกรรมต้องใช้คลื่นจำนวนมากทั้งย่านคลื่นความถี่ต่ำ–กลาง–สูง ไม่ใช่แค่ย่านใดย่านหนึ่ง
นอกจากนั้น ความร่วมมือจะเป็นหลักสำคัญในการทำให้เกิด 5G ในประเทศไทย ดีแทคชูความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจะเป็นจุดสำคัญในการแจ้งเกิด 5G ในไทย โดยดีแทคได้ร่วมมือทดสอบ 5G ระหว่าง 3 องค์กร คือ ดีแทค ทีโอที และ CAT ในส่วนของ
1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ
2.การนำความรู้มาร่วมกัน (Knowledge sharing) โดยการนำความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่ายมาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน แ
3. การแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน (Experience sharing) ทำให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่แต่สามารถนำประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า
รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ ทั้งนี้ ดีแทคยังเดินหน้าสนับสนุนความร่วมมือต่างๆ กับทางสำนักงาน กสทช. และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดสนามทดสอบ 5G ทั้งพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่ EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อทดสอบการใช้งานจริง (Use case) และต่อยอดสู่การนำมาใช้ให้บริการเชิงพาณิชย์ต่อไป