คลังเก็บ

เปิดปฏิบัติการ ‘เปลี่ยนผ่านดิจิทัล’ ของธุรกิจไทย ภายใต้วิถีแห่งการร่วมสร้าง (Co-Creation)

วิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีไอซีทีที่ช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง วิกฤตดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงภาวะ ‘ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล’ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนับเป็นวาระเร่งด่วนของประชาคมโลก อันสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ

เนื่องในวันสังคมข้อมูลและโทรคมนาคมโลก (WTSD) วันที่ 17 พฤษภาคม นี้ ดีแทคได้เปิดปฏิบัติการ ‘เปลี่ยนผ่านดิจิทัล’ ของธุรกิจไทย ภายใต้วิถีแห่งการร่วมสร้าง (Co-Creation) โดย ดร. เรดวัน ฮาซาน คาน ผู้อำนวยการ ฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันธุรกิจ ของดีแทค ผู้อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนผ่านสำคัญของดีแทคและภาคธุรกิจต่างๆ

เขาคือวิศวกรไฟฟ้าชาวบังคลาเทศดีกรีปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ แดนจิงโจ้ ผู้เคยร่วมงานกับเทเลนอร์และมีประสบการณ์คร่ำหวอดด้านเทคโนโลยีการสื่อสารจากหลายประเทศ ทั้งบังกลาเทศ ปากีสถาน และออสเตรเลีย ดร. เรดวันเริ่มต้นชีวิตการทำงานกับดีแทคเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยดูแลรับผิดชอบด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี IoT คลาวคอมพิวติ้ง และ 5G

ส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุด

dtac

“การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในทุกธุรกิจ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ โดยสาเหตุหลักเป็นเพราะพนักงานจำนวนมากหันมาทำงานจากที่บ้าน ธุรกิจต้องดูแลการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลทั้งกับบุคลากรภายในองค์กรเอง รวมทั้งในส่วนงานขายซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและให้การสนับสนุนกระบวนการต่างๆ อย่างเป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเราได้เห็นความท้าทายเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับดีแทค” ดร.เรดวันอธิบาย

Smart Connect เป็นหนึ่งในโซลูชันที่พัฒนาโดย ดร.เรดวันและสมาชิกจำนวน 5 คนในทีมของเขา โซลูชันดังกล่าวช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวสู่ความปกติใหม่ในยุคโควิด-19 ด้วยเครือข่ายที่ปลอดภัย มีสเถียรภาพ และความยืดหยุ่น โซลูชันดังกล่าวยังช่วยให้พนักงานดีแทคสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มและพอร์ทัลต่างๆ จากที่ใดก็ได้ ซึ่งเขามุ่งมั่นที่จะนำความสำเร็จดังกล่าวไปปรับใช้กับลูกค้าองค์กรของดีแทคด้วย

“หัวใจในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจต่างๆ ไปสู่วิถีการทำงานแบบยืดหยุ่นนั้นอยู่ที่ความเรียบง่าย เป็นสาเหตุที่ดีแทคนั้นต้องการส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุด (best value) และสบายใจ ไร้กังวล (worry-free) ในทุกโซลูชันการใช้งาน ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการการเชื่อมต่อและแอปพลิเคชันสำหรับการทำงาน อาทิ Microsoft 365, Workforce Management และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเรารวมมาไว้ในแพ็กเกจเดียว” ดร.เรดวันอธิบาย

Digital maturity

ประเทศไทยนั้นมีอัตราการปรับตัวในการใช้งานดิจิทัล (digital adoption) สูง ดังจะเห็นจากการใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับการทำงานโดยลูกค้าของดีแทค ซึ่งเติบโตหลายร้อยเปอร์เซ็นต์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทำนองเดียวกัน การแลกสิทธิพิเศษในหมวดช้อปปิ้งออนไลน์บนดีแทคแอปนั้นเติบโต 5 เท่า โดยเราเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มลูกค้าระบบเติมเงินและผู้ใช้งานในต่างจังหวัด

“เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ digital maturity ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดความเข้าใจและประเมินสถานะปัจจุบันขององค์กรในเส้นทางการเปลี่ยนผ่าน ตลอดจนศักยภาพในการส่งมอบคุณค่าทางดิจิทัลผ่านสินค้าและบริการ” ดร.เรดวันอธิบาย

Digital maturity สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 เฟส คือเฟสแรก basic automation หรือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาทุ่นแรงมนุษย์ในการทำงานที่เป็นกิจวัตร ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานภายในองค์กร ถัดไปเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนงานขายซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และการสนับสนุนบริการต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล และเฟสที่สามนั้น เป็นการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลเต็มตัว ผ่านการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าและพนักงานในรูปแบบดิจิทัลตั้งแต่ต้นจนจบ (end-to-end)

“นี่เป็นสาเหตุที่การซื้อเทคโนโลยีใหม่ๆ มา ไม่ได้ทำให้บริษัทของคุณกลายเป็นดิจิทัล ตัวชี้วัดอยู่ที่การเปลี่ยนวัฒนธรรมและทัศนคติ (mindset) ขององค์กร ดังนั้น การเข้าใจและประเมินถึงสถานะของคุณในปัจจุบันได้นั้นจะทำให้องค์กรนั้นบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านได้ง่ายขึ้นมาก” เขากล่าว

วิถีแห่งการร่วมสร้าง

ฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันธุรกิจของดีแทคมีบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การประเมิน ให้คำปรึกษา ไปจนถึงการนำเสนอโซลูชันที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยดีแทคจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางจับคู่ระหว่างลูกค้าและพันธมิตรผู้ให้บริการโซลูชัน และจะทำหน้าที่ในการสนับสนุนโซลูชันการสื่อสาร แพลตฟอร์ม และการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

ตัวอย่างที่โดดเด่น คือการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ซึ่งดีแทคนั้นได้พัฒนารูปแบบทดสอบการใช้งาน (use case) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ บนคลื่น 26 GHz หรือ Millimeter wave (mmWave) และเทคโนโลยีเครือข่ายส่วนตัว (private network/edge) อาทิ โปรเจกต์กล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ การบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ และการบริหารจัดการน้ำ

“การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในภาคธุรกิจจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศ และสร้างมาตรฐานใหม่ที่สูงขึ้นทางด้านอุตสาหกรรมและปูทางสู่เป้าหมาย Thailand 4.0” ดร.เรดวันทิ้งทาย