คลังเก็บ

บราเดอร์ ปรับตัวสู่การเติบโต พลิกองค์กรยึดหลัก Speed & Resilience รับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาด

ย้ำวันนี้ไม่ได้ขายแค่สินค้าอย่างเดียว แต่เดินหน้าสร้างอาชีพ ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์คุณภาพ ปรับกลยุทธ์ขยายธุรกิจสู่กลุ่มตลาดใหม่ พัฒนาศักยภาพสินค้า เพิ่มช่องทางขาย เสริมกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างตรงจุด พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีพร้อมรองรับงานบริการควบคู่กับการก้าวสู่ Green Office สำนักงานสีเขียว

Brother

ความท้าทายใหม่ของบราเดอร์เพื่อการเติบโตในปี 2564

“ในปีที่ผ่านมาแม้จะต้องเผชิญความท้าทายจากสถานการณ์ COVID-19 แต่ บราเดอร์ ก็ยังคงสร้างรายได้ให้เติบโตจากปี 2563 ด้วยการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในเวลาอันรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง”  นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการปรับตัวที่ไม่บ่อยครั้งนักที่ต้องเผชิญ

“นอกจากการใช้กลยุทธ์ 3C ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ Customer, Channel และ Company แล้วบราเดอร์ยังได้ปรับรูปแบบการทำงานที่เน้นเรื่อง Speed และ Resilience เข้ามาเสริมด้วย เพื่อพร้อมทำงานได้อย่างฉับไว สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น เพราะภาพรวมตลาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำงานจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบสู่ customize style มากยิ่งขึ้น”

การเรียนรู้ที่จะปรับตัวทำให้วันนี้ บราเดอร์ ผ่านวิกฤติและสร้างการเติบโตในปีที่ผ่านมาได้สำเร็จ “วันนี้บราเดอร์ไม่ได้ขายแค่สินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เราเปลี่ยนวิธีคิดในการทำธุรกิจโดยหันมานำเสนออาชีพใหม่ที่สามารถสร้างรายได้และเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่อาชีพเดิมของลูกค้าในปัจจุบันด้วยเช่นกัน

สิ่งนี้ทำให้เรายังเติบโตได้แม้ต้องเจอกับวิกฤติระดับโลก เส้นเลือดหลักอย่างเครื่องพิมพ์ มีอัตราเติบโตจากการปรับการทำงานสู่โมเดล work from home หรือ work from anywhere   ทำให้ตลาดต้องการเครื่องพิมพ์ขนาดย่อมลงมาเพื่อให้พนักงานใช้ทำงานได้ที่บ้าน หรือแม้กระทั่งการเรียนออนไลน์ หรือการเกิดใหม่ของธุรกิจขนาดเล็กที่หลายคนไม่คาดคิด ก็ดูเหมือนจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา” นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวของบราเดอร์ในปีที่ผ่านมา

“จักรเย็บผ้าก็ถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่เป็นที่ต้องการสูงสุดเช่นกัน รวมถึงเครื่องพิมพ์ผ้ารุ่น GTX ที่สร้างอัตราการเติบโตสูงถึง 30% หรือแม้แต่เครื่องเสียงคาราโอเกะ BMB ก็สามารถขยายตลาดสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ๆ ได้ด้วย นับเป็นอีกก้าวที่ท้าทายที่บราเดอร์ตั้งใจพัฒนาเพื่อเติบโตในตลาดใหม่”

COVID-19 สร้าง demand ใหม่ บราเดอร์ คาดว่าปี 2564 ตลาดเครื่องพิมพ์ยังคงมียอดขายรวมใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ในปี 2564 คาดว่าภาพรวมตลาดเครื่องพิมพ์จะเติบโตในทุก segment และอีกหนึ่งสินค้าที่ได้รับอานิสงค์คือ จักรเย็บผ้า ที่มียอดขายสูงขึ้นถึง 20% ในปีงบประมาณ 2563 และอัตราการเติบโตก็ปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องเพิ่มจากการทำหน้ากากผ้ามาเป็นงาน DIY เพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพหลักหรือทำเป็นอาชีพเสริม

โดยบราเดอร์จะเน้นเป็นการขายสินค้าในเชิงการลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้ ให้ลูกค้าทราบถึงวิธีการทำธุรกิจโดยใช้สินค้าของบราเดอร์ และชี้ช่องทางให้สามารถทำธุรกิจด้วยตนเองเพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงานที่เกิดจากวิกฤติ COVID-19 โดยในปี 2564 บราเดอร์จะเน้นสร้างการเติบโตทั้งส่วน personal use ที่ใช้กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบราเดอร์เพื่อเป็นงานอดิเรกหรือใช้เพื่อทำธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็ก และกลุ่ม business use  ที่นำไปใช้ทำธุรกิจเต็มรูปแบบ”

  • เดินหน้าขยายโอกาสทางธุรกิจ พัฒนาความพร้อมของทีมขาย

เพิ่มศักยภาพสินค้าพร้อมนำเสนอ Solution เพื่อพร้อมอยู่เคียงข้างลูกค้าในทุกสถานการณ์

นายณเอก สงศิริ รักษาการผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงแผนการพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบราเดอร์ในปีงบประมาณ 2564 ว่า การดำเนินธุรกิจของ บราเดอร์ จะประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

กลยุทธ์ที่ 1 Expansion ที่มุ่งขยายใน 3 แนวทาง คือ 1. ขยายไปยังกลุ่มธุรกิจ B2B แบบเจาะลึกยิ่งขึ้น ต่อยอดความสำเร็จที่บราเดอร์ทำได้ดีอยู่แล้วให้พัฒนามากยิ่งขึ้นไปอีก โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจ Healthcare, Retail, Logistic และ Finance 2. การขยายสู่ตลาดใหม่ ด้วยการนำเสนอให้เห็นถึงประโยชน์ของสินค้าบราเดอร์ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตยิ่งขึ้น อาทิ ธุรกิจด้านการศึกษาที่ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากอดีตสู่การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ทำให้ความต้องการอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกลุ่มตลาดใหม่ ที่น่าจับตา 3. การนำเสนอ Tailor made solution ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือก business model ที่ตอบโจทย์ได้สูงสุด

กลยุทธ์ที่ 2 Develop ที่จะพัฒนาใน 3 ส่วน คือ 1. การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยการขยายช่องทางการขายใหม่ๆ โดยจะเน้นให้ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจด้าน e-commerce เพิ่มขึ้น รวมถึงการบริหารช่องทางการขายระหว่างออฟไลน์และออนไลน์อย่างเหมาะสมกับแต่ละสภาพตลาด 2. การนำศักยภาพของผลิตภัณฑ์มาพัฒนาเป็น Solution ใหม่ๆ นำเสนอสู่ตลาด เช่น Trackmo ซอฟต์แวร์ที่บราเดอร์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการตรวจสอบทรัพย์สินโดยเพิ่มประสิทธิภาพของ P-Touch ให้เป็นได้มากกว่าเครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์ 3. การพัฒนา Customized service model ปัจจุบันบราเดอร์ได้นำแนวคิด Brother one เข้ามาใช้เพื่อประสานความร่วมมือในการเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าและส่งมอบบริการที่ตอบโจทย์ เพื่อความพึงพอใจสูงสุด

และกลยุทธ์สุดท้ายคือ Communication บราเดอร์ต้องการจะพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นเริ่มจาก 1. สื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยได้พัฒนา content ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายเพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสาร 2. สื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายเห็นถึงความพร้อมของบราเดอร์ ที่สามารถส่งมอบบริการได้ตรงตามความต้องการ และ 3. การให้ความสำคัญกับ Customer voice อย่างต่อเนื่อง โดยยึดปรัชญาการดำเนินธุรกิจ ‘at your side’  พื่อนำเอาสิ่งที่ได้รับรู้จากตลาดในภาพรวม มาปรับปรุงในทุกส่วนทั้งด้านบริการ ด้านการนำเสนอ Solution ต่างๆ ให้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่ออย่างยิ่งว่า หากบราเดอร์สามารถดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์หลักทั้ง 3 ที่วางไว้นี้ จะสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างแต่นอน

  • ย้ำภาพเบอร์ 1 ด้านงานบริการ เตรียมนำนวัตกรรมเสริมศักยภาพทีม พร้อมรองรับการเติบโต

ในปีที่ผ่านมา แม้บราเดอร์ต้องเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 แต่ทีมบริการก็สามารถส่งมอบบริการคุณภาพแก่ลูกค้าได้ปกติ เนื่องจากมีการพัฒนาระบบให้รองรับการทำงานแบบ work from home นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มบริการผ่าน Live Chat ที่สามารถตอบแชทของได้อย่างรวดเร็วและให้บริการได้เกินความคาดหมายของลูกค้า สร้างความสะดวกยิ่งขึ้นเสริมจากบริการพื้นฐานของ Brother Contact Center ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

“Chatbot ของบราเดอร์ถูกพัฒนาให้สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างแม่นยำเพื่อใช้เป็นส่วนบริการแรกที่ติดต่อกับลูกค้า หากกรณีที่ลูกค้าขอคำปรึกษามีความซับซ้อน ระบบจะทำการโอนการสื่อสารไปยังพนักงาน Brother Contact Center ทันที โดยในอนาคตบราเดอร์ต้องการให้ปริมาณการรับบริการผ่าน Chat และ Chatbot มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงง่าย รวดเร็ว และสะดวกสบายกว่า

ทั้งยังส่งข้อมูลที่มีความหลากหลายทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอลิ้งค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่าหากมีการให้คำแนะนำลูกค้าอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ Chat ratio เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่เราตั้งเป้าหมายไว้ ล่าสุด บราเดอร์ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพการให้บริการ SQI ระดับ Gold จากสถาบัน Service Quality Institution และความสำเร็จดังกล่าวจะถูกถ่ายทอดไปสู่ศูนย์บริการแต่งตั้งของบราเดอร์ต่อไป พร้อมพัฒนาศูนย์บริการให้ดียิ่งขึ้นในทุกๆ ด้านเพื่อก้าวสู่ระดับ Platinum

ต่อไป ซึ่งนอกจากจะต้องคงคุณภาพงานบริการให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอแล้วนั้น ยังต้องต่อยอดด้วยการนำฐานข้อมูลที่มีมาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมเพิ่มเติมเพื่อให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงความเหนือกว่ามาตรฐานบริการทั่วไปที่ได้รับในปัจจุบัน พร้อมเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้แก่ลูกค้าด้วยการเข้าเยี่ยมเป็นประจำเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาในส่วนงานบริการในอนาคต”  นายวรศักดิ์ ประดิษฐ์กุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

  • พัฒนาบริการใหม่ๆ ตอบไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบัน

บราเดอร์ มั่นใจประสิทธิภาพงานบริการในปัจจุบันยังรองรับการขยายตัวทางธุรกิจได้อย่างดีด้วยปริมาณศูนย์บริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 141 แห่งประกอบกับการทุ่มงบประมาณในการวางระบบเทคโนโลยีอันทันสมัย รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านงานบริการของทีมเป็นประจำทุกเดือน ทำให้บราเดอร์พร้อมรองรับการเติบโตขององค์กรได้อย่างมีศักยภาพ

“บราเดอร์ ได้พัฒนา product ด้านงานบริการใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในช่วงมาตรการ social distancing อาทิ ‘Brother Care Express’ จึงเกิดขึ้นโดยทีมบริการจะเข้าไปรับสินค้าที่ต้องการส่งซ่อม และเมื่อซ่อมเสร็จก็จะส่งคืนให้แก่ลูกค้าเพื่อลดความเสี่ยงช่วง COVID-19 ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากลูกค้า

รวมถึง Brother Care Pack บริการเสริมต่อระยะเวลาดูแลหลังการขาย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้าในแต่ละประเภท เพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า ท่ามกลางกระแสตอบรับจากทั้งกลุ่มลูกค้าองค์กรและลูกค้าทั่วไปสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 20% ตามลำดับ และมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยในปี 2564 เราจะเพิ่มบริการให้กับลูกค้าที่มาส่งซ่อมและไม่สะดวกในการรับเครื่องกลับด้วยบริการ delivery”  นางสาวรัสสิญากร ตัณฑวณิชย์ รักษาการผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

“นอกจากนี้ บราเดอร์ ยังเดินหน้าพัฒนา Chatbot เพื่อพร้อมให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง   โดย Chatbot ที่ได้รับพัฒนานั้นจะรองรับได้ทั้งสองภาษา คือ ไทยและอังกฤษ ทั้งยังสามารถ interface ร่วมกับ Social Media ได้ด้วย เพราะบราเดอร์รองรับการติดต่อจากลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ต่างกันจึงทำออกมาเพื่อครอบคลุมในทุกช่องทาง เช่น การตอบโทรศัพท์ การตอบอีเมลล์ การตอบแชท เป็นต้น” นางสาวรัสสิญากร ตัณฑวณิชย์ กล่าวเสริม

“บราเดอร์ ยังได้เพิ่มเติมส่วนงานบริการหลังการขายที่จะมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าและกลุ่มลูกค้า เช่น บริการ Manage Print Service (MPSบริการจดมิเตอร์การใช้งานหรือการจัดส่งและเปลี่ยนวัสดุการพิมพ์ (Toner) บริการหลังการขายยังเพิ่มไปที่ไลน์สินค้าอื่นๆ  อาทิ ชุดเครื่องเสียงคาราโอเกะ BMB และเครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลรุ่น  GTX พร้อมสานต่อโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพแก่เยาวชนในโครงการ The Academic Cooperation Program  โดยในปี 2564 ถือเป็นปีที่ 4 ของการจัดทำโครงการดังกล่าว ซึ่งบราเดอร์จะเดินหน้าพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านการซ่อมเครื่องให้แก่เยาวชนให้ได้เกิดประสบการณ์จริงโดยเน้นไปที่กลุ่มอาชีวะเป็นหลัก” นางสาวรัสสิญากร ตัณฑวณิชย์ อธิบายเพิ่มเติม

  • เพราะผู้ป่วยมะเร็งรอไม่ได้ บราเดอร์ ปรับรูปแบบงานวิ่งระดมทุนช่วยผู้ป่วย รพ.รามาฯ

“ตลอด 7 ปีที่บราเดอร์จัดกิจกรรมวิ่งเพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษามอบแก่มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทุนมะเร็งโลหิตวิทยาผู้ใหญ่ โรงพยาบาลรามาธิบดี เงินสนับสนุนดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถึง 428 ราย และจากจุดเริ่มที่นำทุนดังกล่าวไปใช้ในการซื้อยาเพื่อใช้ในการรักษา

ปัจจุบันได้ขยายผลไปถึงการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกให้แก่ผู้ป่วย 3 ราย” นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและธุรการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงผลการดำเนินงานของโครงการใน 7 ปีที่ผ่านมา “ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการสนับสนุนทุนช่วยเหลือมาร่วมวิ่งต้านมะเร็งร่วมกับเรา ทำให้บราเดอร์รู้ว่าวันนี้เราเดินมาถูกทาง เราสามารถสร้างให้คนตระหนักอย่างลึกซึ้งที่จะเป็นหนึ่งในผู้ให้เพื่อมอบโอกาสในการมีชีวิตให้แก่คนอีกหลายคนบนโลกใบนี้ที่แถบไม่เหลือความหวัง”

บราเดอร์ประเทศไทยคว้ารางวัล Environment Award 2020 จากโครงการ ‘บราเดอร์อาสาอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติป่าชายเลน’ ต่อเนื่องตลอด 11 ปี จากสำนักงานใหญ่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมเดินหน้าสู่ Green Office หรือสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยในปี 2563 สามารถคว้ารางวัล Silver Award มาครองได้สำเร็จ พร้อมกำหนดเป้าหมายในปี 2564 ด้วยการคว้ารางวัล Gold Award

“สิ่งแรกที่บราเดอร์ทำมาตลอดคือการปลูกจิตสำนึกของคนในองค์กรให้เห็นถึงความสำคัญของสังคมและสิ่งแวดล้อม และเดินหน้าเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การเป็น Green Office สร้างให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย รองรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) จะส่งผลให้เกิดการลดการปล่อย Green House Gases (GHG) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร กล่าวถึงแผนการก้าวสู่การเป็น Green Office ขององค์กร

“ด้านการส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะแก่พนักงาน บราเดอร์ขึงเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการนำเสนอโครงการเพื่อสังคมใหม่ๆ สร้างความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และหากผ่านการพิจารณาบริษัทฯ ก็จะสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้พนักงานได้นำไปทำกิจกรรมตามรายละเอียดโครงการ”