ปัจจุบันเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิ้วติ้งเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ อุตสาหกรรม ทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ต่างๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบไอทีที่ทันสมัย มีความคล่องตัว และคุ้มค่าในการลงทุนมากขึ้น รวมถึงการนำการใช้งานที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็น การจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาลมหาศาล (หรือ บิ๊กดาต้า) อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (หรือ Internet of Things) แมชชีนเลิร์นนิ่ง (หรือ Machine Learning)
คุณอรรณพ ศิริติกุล หัวหน้าฝ่ายขาย บริษัทอะเมซอนเว็บเซอร์วิสเซส (หรือ AWS) กล่าวว่า “ลูกค้าของ AWS ในประเทศไทยมีความตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิ้วติ้งมาใช้ ในหลากหลายแง่มุม ตัวอย่างเช่นเอสซีจี ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานเหล่านี้ไม่หยุดที่จะพัฒนาเพื่อนำเสนอบริการ หรือผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า AWS มีความยินดีที่ได้เป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้ ให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน”
หนึ่งในบริษัทที่นำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิ้วติ้งมาใช้อย่างเอสซีจี ต้องการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจปัจจุบันและพัฒนานวัตกรรมเพื่ออนาคต โดยเลือกใช้ระบบคลาวด์ของ AWS รวมถึงใช้เทคโนโลยี AWS IoT เพื่อสร้างโซลูชันที่สมบูรณ์สำหรับความเป็นอยู่ที่ดีของลูกค้า
คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท SCG Cement-Building Materials จำกัด กล่าวว่า“เรามองว่า IOT คืออนาคตของอินเทอร์เน็ต เพราะมันจะอยู่รอบตัวเราไม่ใช่แค่บนหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สวมใส่ อุปกรณ์อัจฉริยะ หรือเซ็นเซอร์ต่าง ๆ รวมถึงโรงงานอัจฉริยะที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาผสานกับ IoT และปรับใช้เข้ากับระบบของโรงงานและเครื่องจักรต่าง ๆ เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการ (smart economy) ดังนั้น IoT คือก้าวสำคัญและเราต้องใช้ประโยชน์ในแง่ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่และสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศไทย”
ในมุมมองของ เอสซีจี นั้น IoT มีความท้าทายอยู่สองประการ ได้แก่
1. IoT เป็นเทคโนโลยีใหม่ – เอสซีจีจะต้องพิจารณาถึงขอบเขตการใช้งานและลักษณะการใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง
2. IoT จะมาอยู่ในเมืองและบนตัวเรา – การบริหารจัดการและความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ซึ่งทั้งสองจุดนี้ AWS สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก AWS มีระบบนิเวศของพันธมิตรและคู่ค้า IoT ที่ทำให้ เอสซีจีสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมี AWS IoT Greengrass ที่ช่วยให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสามารถรันฟังก์ชัน AWS Lambda คอนเทนเนอร์ของ Docker หรือทั้งสองอย่าง และสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย แม้ในขณะที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ตาม ทำให้บริษัทฯ เห็นถึงศักยภาพของ AWS IoT ในทุกด้าน
เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้เอสซีจี สามารถปรับขนาดการใช้งาน (scalability) ได้อยู่เสมอ สามารถรองรับบริการใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่เป็นธุรกิจภายในประเทศเท่านั้น แต่บริษัทฯ มองธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านด้วย รวมถึงการสร้างเทคโนโลยีของแบรนด์เพื่อการส่งออกไปทั่วโลกในอนาคต ดังนั้นการใช้ระบบคลาวด์ของ AWS จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนและขยายธุรกิจของบริษัทฯ
นอกจากนี้ เอสซีจี ยังมีความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัย (security) ของ AWS Cloud และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ เอสซีจี มีความเชื่อมั่นใน AWS คือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) สำหรับองค์กรที่ใช้คลาวด์ในหลายลักษณะงาน ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การช่วยบริหารจัดการเครื่องมือใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง หรือ AWS IoT Core ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT หลายพันล้านเครื่อง
อีกทั้งยังกำหนดเส้นทางข้อความหลายล้านล้านรายการไปยังบริการของ AWS โดยไม่ต้องมีการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้เป็นการบริหารต้นทุนที่คุ้มค่าของการใช้ระบบคลาวด์
คุณอภิรัตน์ กล่าวเสริมว่า “ในปี 2565 นี้ เรามองถึงการขยายความร่วมมือกับ AWS ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีที่เรากำลังพัฒนาอยู่ให้เต็มศักยภาพ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด มีความปลอดภัยอย่างเต็มที่ สิ่งที่เราอยากทำคือการสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีอัจฉริยะ (smart technology ecosystem) ของ IoT ขึ้นมาในประเทศไทย
เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านนี้ สามารถส่งออกนวัตกรรมของคนไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้านและในที่สุดสู่ทั่วโลกได้ ดังนั้น การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง AWS และพาร์ทเนอร์อื่น ๆ ในภาคการศึกษา ภาครัฐ หรือภาคเอกชน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง”