ผลการสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดย IDC บริษัทวิจัยการตลาดและให้คำปรึกษาด้าน IT ชั้นนำของโลกในหัวข้อ IDC Asia/Pacific Enterprise Cognitive/AI survey ชี้ให้เห็นว่าการนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้ในภูมิภาคนี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อมองภาพรวมของทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 14 % เปรียบเทียบกับเพียง 8 % ของปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่ามีหลายบริษัทนำปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ได้อย่างอัจฉริยะของระบบคอมพิวเตอร์ (AI/cognitive intelligence) เข้ามาฝังไว้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น
มีผู้ตอบแบบสำรวจถึง 52% จัดลำดับให้ความต้องการค้นหาข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึกทางธุรกิจ (business insights) ได้ดีขึ้นเป็นพลังผลักดันที่สำคัญที่สุดในการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ เหตุผลนี้ถูกเลื่อนจากอันดับ 3 ในปีก่อนขึ้นมา
เผยให้เห็นว่าตลาดในภูมิภาคนี้มีกำลังมีวุฒิภาวะ (maturity) เพียงพอที่จะนำ AI มาช่วยขยายธุรกิจได้ เหตุผลอื่นในลำดับต้น ๆ ที่เป็นตัวผลักดันการนำ AI เข้ามาใช้มีเรื่องของความต้องการเพิ่มความเป็นอัตโนมัติในกระบวนการทำงาน (51%) และปรับปรุงความสามารถในการผลิต (42%)
ประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของภูมิภาคในการนำ AI เข้ามาใช้ถึง 24.6 % ขององค์กรทั้งหมดในประเทศ ตามด้วยอันดับสองคือประเทศไทย (17.1%) สิงคโปร์ (9.9%) และมาเลเซีย (8.1%) ประเภทการใช้งานในระดับต้น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ใช้สร้าง algorithm ในการคาดการณ์ตลาด (17%) และการบริหารจัดการสินทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นอัตโนมัติ (11%)
“ผลกระทบในเชิงบวกมีให้เห็นชัดเจนทั่วไปในภาคธุรกิจธนาคาร โรงงานการผลิต การดูแลสุขภาพและภาครัฐ มีโอกาสใหม่ ๆ ที่เห็นชัดได้เปิดให้องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถนำ AI เข้ามาสร้างความแตกต่างเชิงมูลค่าให้แก่องค์กรของตน เราคาดหวังว่าจะมีการลงทุนใน AI อย่างต่อเนื่องและสูงขึ้นเรื่อย ๆ
เนื่องจากมีองค์กรมากขึ้นเริ่มเข้าใจผลประโยชน์ที่ได้จากการนำ AI มาฝังไว้ในกระบวนการทำงานทางธุรกิจ และมีเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ช่วยให้ค้นพบข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึก (insight) ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
องค์กรที่ไม่สนใจนำ AI มาใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจของตนจะพ่ายแพ้ให้แก่คู่แข่งที่นำ AI เข้ามาใช้ซึ่งจะได้ประโยชน์จากความสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำ มีประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากขึ้น ซึ่งเกิดจากความสามารถในการวิเคราะห์ที่ก้าวล้ำหน้ากว่าคู่แข่ง” กล่าวโดย คุณฉวี กาน ชู (Chwee Kan Chua) ผู้อำนวยการการวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับบิ้กเดต้าและการวิเคราะห์ การเรียนรู้/ปัญญาประดิษฐ์ ของ IDC Asia/Pacific
ต้นทุนที่สูงมากและการขาดผู้เชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำ AI เข้ามาใช้งาน
แม้ว่าการนำ AI เข้ามาใช้จะสูงขึ้น แต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ยังตามหลังในภูมิภาคเอเชียเหนือ ในเรื่องของการกำหนดให้ AI เป็นวาระหลักในแผนเชิงกลยุทธ์ (strategic agenda) ของตน อย่างเช่น
มีบริษัทมากกว่า 80% ในประเทศจีนและเกาหลีไต้เชื่อว่าการที่ตนมีความสามารถในเชิง AI จะเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ (critical) ต่อการประสบความสำเร็จและการมีความสามารถเชิงแข่งขันในอนาคตอันใกล้ เปรียบเทียบกับบริษัทที่เชื่อในเรื่องนี้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีไม่ถึง 40%
การขาดทักษะและความรู้ (23%) และต้นทุนโซลูชั่นด้าน AI ที่สูง (23%) เป็นอุปสรรคสำคัญในการนำ AI มาใช้งานตามความเห็นของผู้ตอบแบบสำรวจ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยภาพรวมยังล้าหลังกว่าภูมิภาคเอเชีย/แปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) เป็นสัญญาณเตือนภัยให้องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ควรจะรีบนำ AI มาใช้เสียโดยเร็ว ตัวอย่างเช่น 40% ขององค์กรในประเทศไทยตอบว่าอยากจะให้ระบบ ERP ของตนมี AI เข้ามาช่วยงาน ชี้ให้เห็นความต้องการค่อนข้างสูงที่อยากให้ใช้ AI มาช่วยในการชี้นำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
การทำให้กลยุทธ์การนำ AI มาใช้สร้างความแตกต่างเชิงธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นนั้น บริษัททั้งหลายพบว่ามีข้อมูลกระบวนการขาย (Sales) การพาณิชยกรรม (Commerce) และการตลาด (Marketing) พร้อมที่สุด ตามมาด้วยข้อมูลจากการดำเนินงานด้านบริการและการช่วยเหลือลูกค้า (Customer Services & Support) และข้อมูลจากการดำเนินงานด้าน IT , การรักษาความปลอดภัยและความเสี่ยง (Security & Risk)
สำหรับองค์กรที่ได้เดินทางบนเส้นทางใช้ข้อมูลแสวงหาข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึกแล้ว (data-to-insights journey) ในแต่ละภาคธุรกิจล้วนประสบกับความท้าทายที่แตกต่างกัน องค์กรในภาคการเงินพบความท้าทายค่อนข้างมากในเรื่องการทำ data federation และ data building ขณะที่องค์กรภาครัฐประสบกับปัญหาความไม่พร้อมของข้อมูล (data readiness)
บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยประสบกับปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI
ในประเทศไทยมีองค์กรถึง 17.1% ตอบว่าได้นำ AI มาใช้ในรูปแบบบางอย่างแล้ว ถือได้ว่าเทคโนโลยีนี้เป็นค่อนข้างมีความคืบหน้าในประเทศไทย องค์กรในภาครัฐ ภาคการดูแลสุขภาพและภาคการค้าปลีกเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่นำ AI เข้ามาใช้ ในบริษัทค้าปลีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ลงทุนจากประเทศจีน วางเป้าหมายไว้ว่าจะสร้างสรรค์ประสบการณ์แปลกใหม่ให้ผู้บริโภคโดยใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้จดจำหน้าและภาพเข้ามาช่วย
ในเรื่องของการใช้งาน โดยเฉพาะในเรื่องของการตรวจจับภัยคุกตาม/ความผิดปกติ (Threat/anomaly Detections) และ การตรวจสอบคุณภาพโดยอัตโนมัติ (Automated Quality Inspections) เป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ ในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ การนำ AI มาพัฒนาใช้งานในเรื่องนี้จะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมหลักของประเทศอย่างเช่นอุตสาหกรรมโรงงานผู้ผลิต
แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยตอบแบบสำรวจเป็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงอันดับแรกเลยว่าการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เป็นอุปสรรคที่สำคัญมาก ๆ ประกอบกับมีองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยถึง 80% เห็นว่าความสามารถของ AI เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการอยู่รอดในเชิงการแข่งขันขององค์กรของตนในอนาคต ถือว่าสูงที่สุดในอาเซียนเลย
แสดงให้เห็นเข้าใจผิดในการจับคู่ระหว่างการรับรู้ความเร่งด่วนในการนำ AI เข้ามาใช้งานกับการมีเครื่องมือที่จะนำ AI มาใช้ สิ่งที่จะต้องรีบทำอย่างยิ่งคือการแสวงหา แนวทาง เครื่องมือและแพลตฟอร์มที่เหมาะสมมาช่วยลดผลกระทบจากการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ (talent shortage)
“AI และการวิเคราะห์จะเพิ่มความสามารถให้พนักงานและเป็นพลังสำคัญในการผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เรารู้สึกยินดีมากที่จะได้เห็นองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยตระหนักถึงการเพิ่มความสามารถในการผลิต (productivity) และประสิทธิภาพในการทำงาน (efficiency) ด้วยการนำ AI เข้ามาใช้” กล่าวโดยคุณ ณัฐพล อภิลักษณ์โตยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
“อย่างไรก็ตามการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นจริงและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรธุรกิจและภาครัฐในไทยจะต้องร่วมมือกันพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและทำให้ความสามารถในการวิเคราะห์เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรสามารถเข้าถึงได้”
IDC Asia/Pacific Enterprise Cognitive/AI survey เป็นรายงานการศึกษาที่จัดทำขึ้นทุก ๆ ปีเพื่อศึกษาแนวโน้มการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ความท้าทายและอุปสรรคสำคัญ และการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ทางธุรกิจ ในปี 2018
การศึกษานี้ครอบคลุมผู้บริหารและผู้นำในเรื่องทาง IT ของธุรกิจจำนวน 502 ท่านทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจ 146 ท่านอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย)