คลังเก็บ

AIS ลุยที่ราบสูง ยืนยันโครงข่าย 5G ครอบคลุมมากสุดทั่วภาคอีสาน ลึก สูง กว้าง ไกลเที่ยวอีสานหม่องใด๋ก็ม่วน อุ่นใจบ่หยุด ไม่มีสะดุด ทุกดิจิทัลไลฟ์สไตล์

AIS ตอกย้ำ ที่ 1 ตัวจริง ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานมากสุดในภาคอีสาน ลึก สูง กว้าง ไกล ที่ไหนก็เข้าถึง ประกาศความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยวและวันหยุดยาวในช่วงสิ้นปี จากกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงประชาชนที่กำลังวางแผนเดินทางกลับภูมิลำเนาภาคอีสานเพื่อเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่และไฮซีซั่นของภาคอีสาน

AIS

นายกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS กล่าวว่า “วันนี้ AIS ยังคงเดินหน้าทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่มากที่สุดของประเทศเทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมด

ให้ตอบโจทย์การใช้งานของประชาชนในพื้นที่แบบลึก สูง กว้าง ไกล ทั้งการติดต่อสื่อสารและบริการดิจิทัลที่จะช่วยเสริมขีดความสามารถของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว ที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจภายในภาคอีสานให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”

นายวิศรุต พิศาล หัวหน้าส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ AIS กล่าวว่า “ที่ผ่านมา AIS มุ่งมั่นยกระดับ และพัฒนาคุณภาพการให้บริการและโครงข่ายในพื้นที่ภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ภาคอีสานเต็มไปด้วยเทศกาลวัฒนธรรม คอนเสิร์ต สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยม รวมถึงการเดินทางกลับภูมิลำเนาของพี่น้องประชาชนในช่วงวันหยุดยาว

วันนี้พวกเราจึงได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลภายใต้ความท้าทายและลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคอีสาน ทั้งในเขตที่ราบสูง ภูเขา หมู่บ้านห่างไกล เส้นทางคมนาคมทั้งสายหลักและรอง รวมถึงพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น พร้อมผสมผสานนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาอุปกรณ์ด้านเครือข่ายให้มีความพร้อมและแข็งแรงสามารถเชื่อมต่อระบบสื่อสารและบริการดิจิทัลทุกรูปแบบ

สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในทุกช่วงเวลาและรองรับปริมาณการใช้งานที่จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี ทั้งในพื้นที่ที่มีการจัดคอนเสิร์ตระดับประเทศ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ อาทิ ทุ่งกะมัง อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มรดกโลก

จังหวัดอุดรธานี ผาชะนะได อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดป่าดงหนองตาล พิกัดสายมูแห่งใหม่ จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น หรือแม้แต่ในทุกเส้นทางการเดินทางเพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถติดต่อสื่อสาร ใช้งานดิจิทัล ในช่วงเวลาแห่งความสุขได้อย่างเต็มที่”