AIS ผู้ให้บริการดิจิทัลอันดับหนึ่งของประเทศ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมกับ ZTE ผู้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก ในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลหลัก เช่น 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพและมอบประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าเอไอเอส พร้อมพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ประเทศไทยอยู่แถวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัล
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider และ Cognitive Telco ที่มุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัล อย่าง 5G ที่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักมาส่งเสริมขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
พร้อมส่งมอบประสบการณ์จากบริการอัจฉริยะหลากหลายรูปแบบให้แก่ลูกค้า AIS และ คนไทย รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ผ่านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเชื่อมั่นเสมอว่า 5G จะเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในอนาคตอันใกล้ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่พฤติกรรมของผู้บริโภคไปจนถึงบริบททางสังคม และการเติบโตของประเทศด้วยระบบเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy”

ปัจจุบัน AIS เป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ยืนหยัดในการขยายเครือข่าย 5G ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดของประเทศไทย คิดเป็น 78% ของประชากรทั้งหมด ตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตเป็น 85% ภายในปีนี้โดยยังคงทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับโลกเพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ AIS ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมกับ ZTE ผู้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นนำระดับโลก โดย ZTE จะเป็นพันธมิตรเชิงยุทธสาตร์ที่ครอบคลุมในการยกระดับเทคโนโลยีหลัก เช่น 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงคุณภาพและมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้า AIS ด้วยโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลใน 3 ด้านหลัก ดังนี้
1. สร้างสรรค์เทคโนโลยี 5G เสริมศักยภาพประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และยกระดับบริการเพื่อลูกค้าเอไอเอส โดย AIS และ ZTE จะเปิดตัว “A-Z Center” (ศูนย์นวัตกรรม 5G) ในประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการวิจัยสำรวจความร่วมมือและนวัตกรรมร่วมกันของ 5G ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชั่น กระตุ้นการเติบโตในภาคส่วนต่างๆ เช่น Metaverse และ Holographic ซึ่งมีกำหนด ที่จะเปิดตัวในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
2. การสร้างและอัพเกรดเครือข่าย AIS 5G สู่ เครือข่ายดิจิทัลอัจฉริยะ Autonomous Network ที่สามารถจัดการเครือข่ายอัตโนมัติได้อย่างแม่นยำจากการประมวลผล Big Data และ AI เป็นต้น
3. ขยายขีดความสามารถของ 5G เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในด้านนวัตกรรมของ ZTE ที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก อันจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากพื้นฐานของการนำ Digital Transformation มาประยุกต์ใช้

“ZTE ในฐานะหนึ่งในผู้นำระดับโลกด้าน 5G เชื่อมั่นอย่างแท้จริงว่า 5G กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาแนวดิ่งและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของอุตสาหกรรม” นายสวี จือหยาง ซีอีโอ ZTE Corporation กล่าว “เราจะเดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมโซลูชั่นและแอพพลิเคชั่นทางเทคนิค 5G ต่อไป และทำงานร่วมกับ AIS เพื่อนำศักยภาพมหาศาลของเครือข่าย 5G มาเสริมความสามารถในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล”

โดยความสำเร็จจากความร่วมมือกันระหว่าง AIS และ ZTE ในการพัฒนานวัตกรรม 5G เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยได้อย่างดี อาทิ เดือนมีนาคม 2565 AIS , Qualcomm และ ZTE ได้ร่วมกันทดสอบเทคโนโลยี 5G NR-DC (New Radio Dual Connectivity) สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก บนคลื่นความถี่ 2.6GHz (2600MHz) และ 26GHz โดยสามารถทำความเร็วได้สูงสุด

ซึ่งการรวมกันของสองคลื่นความถี่ ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นของการพัฒนาความเร็ว “5G mmWave” ซึ่งมีความสำคัญต่อการขยายขีดความสามารถของ 5G ในประเทศไทย
นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 AIS, ZTE และ มหาวิทยาลัยสุรนารี ได้ร่วมมือกันทดลอง ทดสอบ 5G Smart Factory เพื่อส่งเสริมการสร้างบุคลากรในสาขา AI, คลาวด์, IoT, VR และ AR ให้สามารถนำทักษะดังกล่าวไปพัฒนาโซลูชันส์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย