ปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้คำว่า IoT หรือ Internet of Things ในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้หลายคนรู้สึกสับสนได้ อีกทั้งระบบ IoT ยังผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยีและแนวคิดที่แตกต่างออกไปหลากหลายรูปแบบ เช่น อุตสาหกรรม 4.0 เกษตรกรรมอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ รถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อ และล่าสุดคือ Metaverse เป็นต้น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการกล่าวถึง Internet of Things บ่อยครั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ วิดีโอออนไลน์ งานกิจกรรมต่างๆ โดยทุกคนมักพูดถึงว่า IoT กำลังเป็นที่นิยม แต่จริงๆ แล้ว IoT คืออะไรกันแน่ อันที่จริง IoT ก็คือความสามารถในการเพิ่มการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้ากับสิ่งใดก็ได้ แต่ในบางกรณี เราก็ยังบอกไม่ได้ในทันทีว่าผู้ใช้จะได้รับประโยชน์อะไรจาก IoT บ้าง
และมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า IoT อาจค่อยๆ หายไปเพราะตัวมันเองขาดความเฉพาะทาง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าภายในปี 2568 “สิ่งของ” จำนวนกว่าสองหมื่นห้าพันล้านรายการทั่วโลกจะเชื่อมต่อกับระบบอัจฉริยะ และคาดว่า “สิ่งของ” เหล่านี้จะสร้างปริมาณข้อมูลเทียบเท่า 50 ล้านล้านกิกะไบต์ รวมถึงสร้างมูลค่าประมาณ 19 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่เศรษฐกิจโลกในทศวรรษหน้า
นับว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจและดึงดูดให้กลุ่มบริษัทรุกเข้ามาหาช่องทางในตลาดแห่งนี้ นอกจากนี้ยังจะมีความเป็นไปได้และโอกาสอีกมากมายมหาศาล รวมถึงจะเกิดการค้นหาว่ายังมีโอกาสใดอีกบ้าง และผลิตภัณฑ์สุดท้ายใดบ้างที่เราต้องการให้มีการเชื่อมต่อจริงๆ ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งที่ MediaTek เราทำให้แนวคิดนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยพลิกโฉมให้ Internet of Things เป็นสิ่งที่ทำได้จริงและกลายเป็นสิ่งจำเป็น
IoT ก็มีความหลากหลายพอๆ กับอุตสาหกรรมที่ต้องนำ IoT ไปใช้ ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มากยิ่งขึ้น เช่น อุตสาหกรรม4.0 เกษตรกรรมอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะรถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อ เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์สวมใส่ ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและสุขภาวะ บ้านที่มีการเชื่อมต่อ เครื่องใช้ในบ้านที่มีการเชื่อมต่อ ฯลฯ นั่นก็เพราะว่าแต่ละผลิตภัณฑ์มีวิธีแก้ปัญหาและโอกาสที่แตกต่างกันออกไป
เราได้ค้นพบว่าในแต่ละภาคส่วนมีทั้งโอกาส Use Case ที่หลากหลาย เทคโนโลยี SoC ประเภทการเชื่อมต่อ และสถาปัตยกรรมในระบบที่แตกต่างกัน ซึ่งในตอนนี้เราก็ยังไม่ได้พูดถึงประเด็นอื่นๆ อีก เช่น ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวก็จะมีวิธีการรับมือที่ไม่เหมือนกัน
หากลองพิจารณาด้านเทคนิคแล้ว เรามีเทคโนโลยี LPWAN (Low Power Wide Area Network)ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในเมืองอัจฉริยะ เทคโนโลยีสามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น การวัดพลังงาน ก๊าซ และน้ำ จากระยะไกล ตลอดจนไฟส่องสว่างอัจฉริยะ นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยให้ผู้ให้บริการและเขตเทศบาลประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถตรวจสอบพลังงานในระดับที่ไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน
เทคโนโลยี Wi-Fi ใหม่ (6, 6E และ 7) สามารถประยุกต์ใช้กับแอปพลิเคชั่นภายในอาคารได้มากกว่าเดิม เช่น HMIs การชำระเงินอัจฉริยะ ป้ายอัจฉริยะ เกตเวย์ และเราเตอร์ ซึ่งมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมที่ปลอดภัย สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงมีพลังในการพลิกโฉมอุตสาหกรรม 4.0 และ Metaverse มาก นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่อยู่อาศัยที่มีการใช้งาน Wi-Fi จะมีการเชื่อมต่อด้วยแอปพลิเคชั่นที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางทั้งหมด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ ความบันเทิง ฟิตเนสอัจฉริยะ และความปลอดภัยภายในบ้าน ซึ่งจะกลายมาเป็นสิ่งที่คนให้ความสนใจเป็นหลัก โดยภาคส่วนนี้ยังได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งช่วยให้สร้างโซลูชั่นที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
โทรศัพท์มือถือและ 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศจะมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระหว่างยานพาหนะ ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยและย่นระยะเวลาการเดินทางในเมืองใหญ่
เมื่อพิจารณาถึง IoT ในแง่มุมนี้ เราตระหนักดีว่าของขนาดเดียวไม่ได้เหมาะกับทุกคน ซึ่งย้อนแย้งกับความหมายของ IoT การที่มีการประมวลผลประสิทธิภาพสูง ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การเชื่อมต่อ และความเชี่ยวชาญด้าน AI ล้วนมีความสำคัญและมีบทบาทแตกต่างกันในการนำการเชื่อมต่อและความชาญฉลาดมาสู่สิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวเรา
เขียนโดยคุณ Alan Hsu รองประธานกรรมการองค์กรและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจการเชื่อมต่ออัจฉริยะแห่ง MediaTek