คลังเก็บ

ถอดบทเรียน สัมมนา ACADEMY for THAIS เทคโนโลยีเปลี่ยนไว คนต้องไปให้ไกลกว่า AIS นำทัพภาคเอกชนสานพลังทุกภาคส่วน ชวนสังคมไทยเรียนรู้พร้อมเติบโตไปด้วยกัน

ได้รับเสียงตอบรับด้วยดีจากคนไทย กว่า 4,000 คน สำหรับงานสัมมนาแห่งปี ACADEMY for THAIs โดย AISร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Disruption หลากหลายองค์กรชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศ มาช่วยเปิดโลกทัศน์และสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

ซึ่งถือเป็นโจทย์ท้าทายให้ทุกภาคส่วนดึงเอาศักยภาพของตัวเองมาร่วมสร้างสรรค์ ออกแบบ และทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติให้คนไทยเติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืนต่อไป  

ACADEMY for THAIS

งานสัมมนา ACADEMY for THAIS ในครั้งนี้ เริ่มด้วยการเปิดเวทีพูดคุยถึงบทบาทของภาคธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนแปลงองค์กร หรือDigital Transformation ในมุมมองของแต่ละอุตสาหกรรม โดยมีตัวแทนภาคเอกชนชั้นนำของไทยมาร่วมแสดงความคิดเห็นและฉายภาพให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อม การปรับตัว และแนวทางปฏิบัติเพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตและเดินหน้าได้อย่างมั่นคงแข็งแรง ท่ามกลางสภาวะความผันเปลี่ยนของโลกเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทันถ่วงที และเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น 

นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า “Digital Disruption เป็นสิ่งที่เราคุ้นหูในยุคปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายสำหรับองค์กรในทุกธุรกิจ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นจะมาในรูปแบบไหน

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมในวันนี้ จึงไม่สามารถทำได้แต่เพียงแค่เฉพาะในองค์กรเพียงอย่างเดียว ด้วยสำนึกในความเป็นไทย AIS จึงมุ่งหวังให้สังคมไทยได้ก้าวไปพร้อมกัน เพราะเชื่อว่าหากบริษัทเติบโตเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การเติบโตที่ถาวร เราจึงคิดเผื่อให้สิ่งที่เราเรียนรู้และเชี่ยวชาญนั้น ได้เกิดเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยด้วย

เพราะเราเชื่อว่าการขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าจะต้องสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งต่างก็มีจุดแข็งและศักยภาพที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การผสานความร่วมมือ จึงเป็นบทบาทสำคัญที่คนไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีได้ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลง (Transform) จะต้องคำนึงถึงปัจจัย อย่าง คือ 

1. Ongoing เพราะการ Disrupt ทางเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่คาดเดายาก และเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา 

2. Speed ความเร็วจะเป็นตัวกระตุ้นให้เราเตรียมพร้อมให้ทันถ่วงที เนื่องจากแต่ละธุรกิจก็ต่างได้รับแรงกระแทกที่ต่างกัน ส่งผลให้การปรับตัวก็จะต้องผันตามบริบทของแต่ละองค์กร 

3. Momentum ในอนาคตเราไม่รู้ว่าคู่แข่งของเราจะเป็นใคร หรือมาแบบไหน ความสามารถของAI ในวันนี้ เก่งแค่ไหน เราจะต้องสร้าง Skill Set ให้คนสามารถควบคุมการทำงาน AI ให้ได้ และในที่สุด ความเข้าใจผู้บริโภค จะเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างในตลาดของการแข่งขัน ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใดก็ตาม เพราะผู้บริโภคจะเป็นผู้เลือก และมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นลักษณะ Niche Market มากขึ้น

ด้าน Dr.Hau LLee (The Thoma Professor of Operations, Information, and Technology, Stanford) วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Disruption จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้อธิบายถึงการตอบสนองต่อ Digital Transformation อย่างฉับพลัน โดยชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จะส่งผลให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

โดยกล่าวว่า “4 เหตุผล ที่เทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก และส่งผลต่อภาคธุรกิจ ได้แก่ 

1. เทคโนโลยี จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเห็นได้ชัดเจนขึ้น และกว้างขึ้น โดยจะเห็นได้จาก ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในอนาคตจะทรงประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องอาศัยทักษะความรู้ของมนุษย์เข้ามาเสริม ให้เกิดการทำงานร่วมกัน 

2. การนำเอาเทคโนโลยีมาตามหาผลลัพธ์ ทำให้เกิด Intelligence มีคำกล่าวว่า ข้อมูลคือน้ำมันยุคใหม่ แต่ข้อมูลเชิงลึกหรือปัญญาประดิษฐ์ คือน้ำมันที่กลั่นแล้ว และมีมูลค่ามากกว่า อย่างไรก็ตาม ทักษะการนำข้อมูลเชิงวิเคราะห์มาใช้ หรือการแปลความหมาย การตีความข้อมูล ก็ล้วนจะต้องอาศัยทักษะที่เกิดจากคนร่วมด้วย 

3. เทคโนโลยี ช่วยการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันถ่วงที ฉับไว ข้อมูลมหาศาล จะทำให้เรารู้ถึง Demand Supply รู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร อยู่ที่ไหน มีสภาพเงื่อนไขแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตอบสนองได้รวดเร็ว แม่นยำ 

4. Business Model เทคโนโลยีจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำธุรกิจในเชิง Partner ซึ่งลักษณะการผสานความร่วมมือ จะส่งผลให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน

นอกจากนี้ Dr.Hau LLee ยังได้ทิ้งท้ายถึง Road Map ของกระบวนการทำงานได้อย่างน่าสนใจ โดยให้เริ่มจากการอัพเดทข้อมูลที่มีอยู่ก่อนว่า อะไรคือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพราะหากไม่มีข้อมูล ก็ไม่สามารถเริ่มทำอะไรได้ จากนั้น จึงสร้างอัลกอริทึมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะเอามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง และที่สำคัญคือ การเรียนรู้จากข้อมูล เพราะหากไม่รู้จักนำมาใช้ในการปฎิบัติจริง ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร

ขณะที่ Mr.Rudy de Waele (Futurist, Innovation Strategist) อีกหนึ่งวิทยากรระดับโลกผู้มากประสบการณ์ในเวที ACADEMY for THAIs ได้ขึ้นมาฉายภาพให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เห็นถึงพลังของโลกเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่า AI, IoT และ Blockchain จะเป็น เทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกับภาคธุรกิจมากที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมการผลิตการค้าปลีกเกษตร,สุขภาพ และการขนส่ง ซึ่งที่ผ่านมา ก็เริ่มมีสัญญาณออกมาให้เห็นบ้างแล้ว แต่เทคโนโลยีเหล่านี้เอง ก็ล้วนมีประโยชน์ในแง่ธุรกิจด้วย อย่างเช่นระบบเซ็นเซอร์ ที่ช่วยเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ไปจากเดิม

อย่างไรก็ตาม Rudy ยังเชื่อว่า ทักษะมนุษย์ จะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่จะต้องพัฒนาทักษะให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำในสิ่งที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ทำไม่ได้โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ และที่มากไปกว่านั้น คือทักษะความเป็นผู้นำ ภาวะผู้นำ เป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องอาศัยคนที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลถึง 10 ปี ซึ่งยังหาได้น้อยมาก และต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

อย่างในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งในไทย จะมีโอกาสจากเทคโนโลยี AI, IoT และ 5Gภายปี 2020 เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นมากมาย สอดรับกับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่จะไหลเวียนในแต่ละวัน

เมื่อรวมกับเทคโนโลยี AI และ IoT ก็จะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเพิ่มสูงขึ้นมาก บริการด้านดิจิทัลจะเติบโตขึ้น ทั้งการรับชมวิดิโอบนโทรศัพท์มือถือ ดิจิทัลคอนเทนต์ การโฆษณา เรื่องสุขภาพ การชำระเงิน ล้วนเป็นโอกาสของธุรกิจด้านโทรคมนาคม ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

สุดท้าย Rudy ได้เผยถึงทักษะแห่งอนาคตในอีก ปีข้างหน้า โดยมองว่า จะมีความเฉพาะทางมากขึ้น คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ จะมีแนวคิดเป็นลักษณะ Partnership เอาข้อมูลมาทำงานร่วมกัน ส่วนคนที่เข้าใจและสื่อสารได้ดี จะมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้สามารถอธิบายสิ่งที่ซับซ้อนที่อยู่เบื้องหลังได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ความโปร่งใสในการทำธุรกิจก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึง เพราะปัจจุบัน ผู้บริโภคต้องการรู้มากขึ้น บริษัทต้องมีธรรมาภิบาล และส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้ผู้บริโภครู้ด้วย ซึ่งผลก็อาจจะทำให้มีแนวโน้มการซื้อสินค้าได้มากขึ้นด้วย สำหรับการรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต Rudy เน้นหลักความเข้าใจ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้ในยุคดิจิทัล ข้อ คือ 

1. ต้องเข้าใจลูกค้า และรู้ว่าเรามีเครื่องมืออะไร แล้วจะนำเครื่องมือนั้น ไปใช้หรือส่งเสริมความต้องการให้กับลูกค้าอย่างไร 

2. รู้ว่ามูลค่าของพนักงาน หรือทีมของเราคืออะไร 

3. เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่าน จะต้องรู้ให้ลึกถึงแก่นแท้ ในองค์กรมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง นำมาใช้อย่างไร เทรนด์โลกภายนอกจะเป็นอย่างไร จะนำเทรนด์มาใช้ยังไงได้บ้าง

และ 4. หัดเรียนรู้จาก StartUp เพื่อเรียนรู้ถึงวิธีการสื่อสารกับผู้บริโภค หรือชวน StartUp มาทำงานร่วมกัน ให้ทีมได้รู้จักมุมมองของ StartUp และสุดท้ายคือ ต้องรู้อนาคตว่า โอกาสจะเกิดอะไร องค์กรจะต้องเตรียมพนักงานให้รู้ ให้เท่าทัน

ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงาน ACADEMY for THAIS โดย AIS ร่วมกับหลายองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยธนาคารกสิกรไทย, เมืองไทยประกันชีวิต, Minor International และ SEAC จัดขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดเป็นองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสำหรับสังคมไทย ที่จะพร้อมก้าวและเติบโตด้วยศักยภาพและความสามารถบนโลกยุคดิจิทัลนี้ไปด้วยกัน